Note: How the economic machine works
ระบบเศรษฐกิจทำงานกันยังไง
ระบบเศรษฐกิจเกิดมาจากผลรวมจากการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน (transaction) ซึ่งประกอบไปด้วย
Productivity growth
Short-term debt cycle
Long-term debt cycle
Transaction composed of buyer and seller
Buyer
Money or credit
Seller
Product
Service
Financial assets
Total spending = money + credit -- > driving the economy
Total spending/total quantity of selling stuff = price
ถ้าเรามีความเข้าใจในเรื่องของการแลกเปลี่ยน เราก็จะมีความเข้าใจในเรื่องของระบบเศรษฐกิจ
ตลาด (market) -- เป็นแหล่ง transaction ที่เกิดขึ้นกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
Economy ก็เกิดมาจาก กิจกรรม Transaction ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในตลาดต่าง ๆ นี่แหล่ะ เหมือนกับเป็น sum ของ total spending/total quantity of selling stuff
แหล่งที่เกิดการแลกเปลี่ยนมากที่สุด คือ รัฐบาล
รัฐบาลกลาง (central government)
ทำหน้าที่เก็บภาษี
ธนาคารกลาง (central bank)
ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณเงินในระบบ กับกำหนดอัตราดอกเบี้ย -- ดังนั้นจึงเป็นหน่วยงานที่มีบทบาสำคัญในเรื่องของการกำหนดเครดิต
Interest rate
Printing money
เครดิต เป็นเรื่องสำคัญมากในเรื่องระบบเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบไปด้วย lender and borrower
Lender คือ คนให้ยืมเงิน
ฺBorrower คือ คนยืมเงิน ซึ่งจะจ่ายค่าตอบแทนคือกลับ lender ในรูปของ เงินต้น (principle) + ดอกเบี้ย (interest)
Credit เกิดมาจากความไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่าง ผู้ยืม ที่มีต่อผู้กู้เงิน ว่าสามารถที่จะชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยคืนมาได้
เครดิต มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ เพราะว่าเป็นการได้เงินมาเพื่อไปทำการจับจ่ายใช้สอย ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว มันก็จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งเป็นตัวผลักดันให้เกิดระบบเศรษฐกิจ
The ability to pay ความสามารถในการจ่ายคืนหนี้ (income > debt)
Collateral หลักทรัพย์ค้ำประกัน (collateral > debt)
Productivity ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจระยะยาว (การแลกเปลี่ยนระยะยาว) ไม่ค่อยสวิงมากเท่าไหร่
Credit ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจแบบระยะสั้น (การแลกเปลี่ยนที่ทำได้เพียงระยะสั้น เพราะถึงจุดหนึ่งมันจะต้องผันกลับ) และทำให้ระบบการแลกเปลี่ยนค่อนข้างสวิง ราคาการซื้อขายก็ค่อนข้างจะสวิง เพราะการแลกเปลี่ยนถูกผลักดันด้วยหนี้ที่อยู่ในระบบ ถ้าหนี้มาก ก็จะใช้จ่ายน้อยลงไปในทันที ของเหลือ แต่ถ้าเครดิตเยอะเกินไป ก็ทำให้มีการใช้จ่ายแบบเกินตัว ของขาด
Debt cycles
Short term
5-8 years
Long term
75-100 years
เกิดมาจากการสะสมกันของ short term debt ซึ่งถึงจัดหนึ่งมันจะ crash ลงมาเพื่อรีเซตระบบการแลกเปลี่ยนใหม่
การเติบโตของเศรษฐกิจที่ดี จะต้องมี productivity ที่เหมาะสมต่อการใช้สำหรับการแลกเปลี่ยน
สิ่งที่คนทั่วไปเข้าใจกันว่า ระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน เราแลกเปลี่ยนกันด้วยเงิน แต่จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่มันคือการมีเครดิต โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจในอเมริกา
Credit มีข้อดี ข้อเสีย
ข้อดีคือทำให้เกิด productivity และถ้าเป็น productivity ที่ดี ก็จะทำให้ไม่เกิดหนี้เสีย เกิดการเติบโตของระบบเศรษฐกิจ
ข้อเสียคือ ถ้ามีการประเมินมูลค่าของเครดิต เกินมูลค่า productivity ที่แท้จริง ก็จะทำให้ เกิดหนี้เสียขึ้นมาในระบบได้ เพราะ borrower ไม่มีกำลังที่จ่ายคืนเงนิต้นกับดอกเบี้ยได้
การที่เริ่มมีเครดิตมาก ๆ ทำให้มีความต้องการในสินค้ามาก ก็จะทำให้ราคาสินค้ามันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิด inflation หรือ ภาวะเงินเฟ้อ (inflation)
ภาวะเงินเฟ้อ เป็นภาวะที่จะทำให้คนบางกลุ่มไม่สามารถที่จะจับจ่ายใช้สอยได้ ดังนั้น ธ.กลางต้องเขามาควบคุมเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้สูงขึ้นเพื่อให้ความต้องการมันลดลง ราคาสินค้าก็จะลดลง ซึ่งก็จะทำให้เข้าสู่ภาวะเงินฝืด (deflation) ซึ่งจะทำให้การแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นน้อยลง เรียกว่าภาวะถดถอย (recession)
เมื่อเกิดภาวะ regression ธนาคารกลางก็จะทำการปรับดอกเบี้ยเงินกู้อีกครั้งให้มันถูกลง เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมการแลกเปลี่ยน
มาดูหนี้ต่อ GDP ของอเมริกาสักหน่อย
Ref: https://www.economicshelp.org/wp-content/uploads/2011/08/us-debt-held-by-public-1790-2021-labels.jpg
มาดูหนี้ต่อ GDP ของบ้านเราสักหน่อย
Ref: https://www.pdmo.go.th/th/public-debt/debt-outstanding?ft=yearly&ms=9&ys=2005&me=9&ye=2021
- ถ้าหนี้ล้นระบบมาก ๆ ก็จะเกิดภาวะการ deleverage คือการเอาทรัพย์สินออกมาขายเพื่อที่จะปิดหนี้ หรือลดหนี้ ซึ่งจะทำให้ระบบเศรษฐกิจโดยรวมถดถอย เพราะต่างคนก็ต่างอยากได้เงินมาปิดหนี้ จึงทำให้ตคลาดมัน crash ลงมา ตลาดหุ้นก็ตก เพราะว่าเกิดการขายอย่างมโหฬาร แต่คนซื้อมีไม่มาก เกิดการลดราคาของสินทรัพย์ลงมาอย่างกะทันหัน หรือบางทีก็ต้องขายขาดทุนไปเพื่อเอาเงินสดเข้ามา และเป็นภาวะที่ ธ. กลางไม่สามารถลดดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อเพิ่มการกู้ยืมเหมือนตอนเกิด recession ได้แล้ว เพราะถึงแม้ดอกเบี้ยลดจนเหลือ 0 แต่คนเป็นหนี้หนักมาก การซื้อขายก็ไม่ดี คนก็เลยไม่สามารถกู้ได้
- ภาวะเศรษฐกิจถดถอย
- จับจ่ายน้อยลง
- ไม่มีรายได้ลดน้อยลง
- ความมั่งคั่งก็ลดลง
- เครดิตก็ลดน้อยลง เพราะ ความสามารถในการใช้หนี้มันต่ำลง
- เกิดการยืมน้อยลง
- และวนลูปกลับไปอันแรก -- ซึ่งทำหมด ทำให้เกิดการ decline ของระบบเศรษฐกิจ
- อย่างที่กล่าวไปข้างบน ธ. กลางเมื่อเห็นแบบนี้ ก็ต้องลดดอกเบี้ยการกู้ แต่ถ้าลดจนเหลือ 0 ดอลลาร์เหมือนอย่างในปี 1930 และปี 2008 และเมื่อรู้ว่าคนยืมเงินไม่สามารถที่จะจ่ายเงินคืนได้ ก็ต้องพยายามหาทางที่จะลดหนี้ให้ได้มากที่สุด ตามลำดับข้างล่างเลย
- ลดค่าใช้จ่ายของ บ หรือ ตัวรัฐบาลเอง (cut spending) -- คนเริ่มโดน lay-off เพื่อตัดค่าใช้จ่าย
- ลดหนี้ โดยอาจจะทำเรื่อง debt default ปรับโครงสร้างการชำระหนี้ใหม่ ซึ่งจะส่งผลต่อ credit rating -- แบงค์ล้ม
- Redistribution wealth ให้คนมีรายได้เยอะ เสียภาษีเยอะขึ้น -- รัฐบาลเลยต้องเริ่มเข้ามาจัดการ โดยการไปเพิ่มการเก็บภาษีของคนรวย เพื่อเอามา distribute ให้กับคนตกงาน แต่ถ้าคนรวยต่อต้านการ distribute wealth ก็จะทำให้เกิดการประท้วง เพื่อเรียกร้องให้ช่วยเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเรื่องปากท้อง ซึ่งทำให้เกิดภาวะการเมืองที่ไม่สงบขึ้นมาได้
- ธ. กลาง พิมพ์เงินเลยจ้า เพราะดอกเบี้ยเหลือ 0 บาท คนก็ไม่สามารถกู้เงินออกมาได้ การพิมพ์แบงค์ออกมาจะกระตุ้นให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ คนสามารถจับจ่ายใช้สอยได้ ซึ่งอเมริกาก็ทำอยู่ 2 ครั้งตอนเกิด crisis ครั้งแรก ช่วง 1933 ครั้งที่สอง ช่วง 2008 ซึ่งหลักการทำงานของเขาก็คือ การสร้างพันธบัตรรัฐบาลขึ้นมาเพื่อนำเอามาออกขาย รัฐบาลก็จะได้เงินมาแจกจ่ายให้คนที่กำลังมีปัญหา
- อย่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่หามาได้
- อย่าให้อัตรการเพิ่มของ รายได้มันมีมากกว่า อัตราการเพิ่ม productivity
- ทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้เพื่อเพิ่ม productivity
Comments
Post a Comment