Posts

Showing posts from 2016

Note: หลักสูตรแพทย์แผนใจ เข้าใจโลกและชีวิตจิตใจ

Image
เมื่อวันเสาร์ที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไป ลงทะเบียน ศึกษา "ธรรมโฆษณ์" อันเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นที่ สวนโมกข์ กรุงเทพฯ   จึงอยากจะมาเขียนโน๊ตเล็ก ๆ น้อย ๆ จากการได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ก่อนที่จะเข้าเรียนนั้น ผู้เข้าเรียนจะได้รับไฟล์เอกสารประกอบการเรียนในแต่ละครั้ง ซึ่งคอร์สนี้มีทั้งหมด 5 ครั้ง และในแต่ละครั้งก็จะมีการบ้านให้กลับไปทำ ซึ่งหลัก ๆ ก็คือการพัฒนาจิตใจของตนเอง ในระหว่างการเรียนรู้นั้น จะมีการถาม-ตอบอยู่บ่อย ๆ เป็นคลาสที่ไม่ได้นั่งฟังอย่างเดียว แต่ต้องมีส่วนร่วมด้วย ทำให้เวลาทั้งหมด 6 ชั่วโมงนั้นไม่น่าเบื่อเลย และโอกาสที่จะหลับนั้นค่อนข้างน้อยมาก จากคลาสสรุปได้ว่า สิ่งที่พระองค์ทรงตรัสรู้นั้นมีเยอะมาก แต่เลือกที่จะมาสอนเฉพาะบางเรื่อง เรื่องที่ท่านไม่สอนคือเรื่องที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหนทางแห่งการดับทุกข์ ซึ่งเรื่องที่ไม่สอนนั่นคือเขาเรียก ทิฏฐิทั้ง 10   สำหรับสิ่งที่ท่านสอนนั้น ท่านไม่ได้สอนแก่ทุกคน แต่จะเลือกสอนเฉพาะกับคนที่มี " ธุลีในดวงตาน้อย "  เพื่อให้เขาเหล่านั้นได้เข้าถึงหนทางแห่งการดับทุกข์ ซึ่งในที่นี้เขาก็เอามาเปรียบกับคนในคลา

PP-Short note; the perspective on bat study

Bats and Academics: How Do Scientists Perceive Their Object of Study? http://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0165969#pone.0165969.s001 1. จากรูปลักษณ์ภายนอกของตัวค้างคาวเองนั้น สามารถมองได้เป็นสองลักษณะ ก็คือเป็นสัตว์ที่น่าขยะแขยง หรือเป็นสัตว์ที่น่ารักและมีความน่าสนใจ แต่ลักษณะดังกล่าวเป็นลักษณะที่มาจากมุมมองของคนโดยทั่ว ๆ ไป แล้วในมุมมองของนักวิทยาศาสตร์ เขามองเรื่องนี้กันอย่างไรบ้าง 2. ประเด็นหลักในการศึกษาครั้งนี้ คือ การสอบถามนักวิจัยที่ทำงานเกี่ยวข้องกับค้างคาว ในแง่มุมต่าง ๆ โดยอาศัยแบบสอบถามกระจายไปยังนักวิจัยที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสัตว์ดั่งกล่าว 3. จุดประสงค์ที่เขาต้องการจะรู้ทัศนคติของนักวิจัยในการทำเรื่องดังกล่าวนั้น เพือลดช่องว่างระหว่างการสือสารของชุมชนที่อยู่ในบริเณที่มีค้างคาวชุก และนักวิจัยที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเรื่องดั่งกล่าว 4. ลักษณะการทำงานของนักวิจัยที่เกี่ยวข้องกับค้างคาวนั้น แบ่งได้เป็น 2 ประเด็น คือ การทำงานในแง่โรคติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับค้างคาว การทำงานในแง่นิเวศวิทยา และความสำคัญต่อระบบนิเวศ 5. เนื่องจากการทำงานทั้งสองเรื

Happy life

ชีวิตของเราต้องการอะไรไปเสียนอกจากการมีความสุข มีเงินมีทอง ร่ำรวยปานใด สุดท้ายก็ต้องการความสุข ความรู้สึกเติมเต็มได้จากภายใน มีความสุข ความสงบ โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาสิ่งนอกกาย แต่เป็นสุขลึก ๆ ที่เกิดขึ้นได้ภายในใจของเราเอง.... ชอบวีดีโอนี้ จึงเอามาลงไว้เพื่อให้ตัวเองตระหนักรู้ถึงคุณค่าที่เกิดจากภายใน จนกระทั่งส่งผลต่อตัวเองมองโลกในแง่บวกมากขึ้น ค่อย ๆ สร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคคลรอบกาย มีความสุขอยู่กับปัจจุบัน และมีเป้าหมายในเชิงคุณภาพของชีวิตที่ชัดเจน

Pythium insidiosum photo collection

Image
These pictures can be used for academic purposes only. Research Center, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. Enjoy!!!! --------------------- Pythium insidiosum  SIMI 2921.45 2 Days, incubation @30C Pythium insidiosum SIMI 2921.45 9 Days, incubation @30C --------------------- Pythium insidiosum  SIMI 1020115127 Growth on different media SDA -- Sabouraud Dextrose Agar CMA -- Corn Meal Agar V8 -- V8 Juice Agar V8C -- V8 Juice with Cholesterol Agar Incubation for 6 days; @30C Lactophenol-blue Incubation for 11 days; @RT Staining with lactophenol blue -- SDA V8C Agar-microscope Incubation for 2 days; @30C

Genome editing technology short note

เทคโนโลยีการตัดแต่งจีโนม (Genome editing technology) เป็นเทคโนโลยีที่อาศัยการกระตุ้นของการเกิด DNA double strand break แล้วเหนี่ยวนำให้เกิดกระบวนการซ่อมแซม DNA อันจะมีอยู่ 2 วีธีหลัก คือ  1. Homologous recombination (HR) ซึ่งต้องการ template ในการที่จะซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้น ผลจากการซ่อมแซมดังกล่าวจะทำให้ได้สายของสารพันธุกรรมกลับมาเป็นอย่างเดิม (error-free) 2. Non-homologous end-joining (NHEJ) เป็นการซ่อมแซมแบบต่อสายของ DNA ที่ขาดเข้าโดยตรง ซึ่งกระบวนการต่อนั้นโดยปกติแล้วจะมีการเพิ่ม หรือการเติมของสารพันธุกรรมกลับเข้าไปในบริเวณที่เกิด DNA double strand break นอกเหนือไปจากนี้แล้ว อาจจะทำให้เกิดการ translocation ของตัว genome อันเนื่องมาจากการต่อกันที่ผิดของตัวแท่งโครโมโซม ดังนั้นแล้ววิธีการซ่อมแซมดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ genome (error-prone) ณ ตอนนี้เทคโนโลยีที่มีการกล่าวถึงมากที่สุด คือ Zinc finger, TALENs และ CRISPR/Cas ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการตัดแต่งจีโนม เทคโนโลยีทั้งสามดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิด DNA double strand break ก่อนโดยอาศัยกา

การฝึกทักษะการฟังของผู้เรียนภาษาอังกฤษ

สิ่งสำคัญ 5 ประการในการฝึกทักษะการฟังของผู้เรียนภาษาอังกฤษ ที่มา : https://www.britishcouncil.org/voices-magazine/five-essential-listening-skills-english-learners?utm_source=facebook&utm_medium=social&utm_campaign=bc-learnenglish Credit: Raphael Ahmed เป็นบทความที่แนะนำการฝึกฝนตัวเองในการพัฒนาทักษะด้านฟังของผู้เรียนภาษาอังกฤษ เขาเริ่มประเด็นก่อนเลยว่าทำไมทักษะการฟังจึงมีความสำคัญ โดยเขายกตัวอย่างว่าในกระบวนการสื่อสารนั้น มีตั้งแต่การฟัง การเขียน การพูด และการอ่าน ซึ่งในการสื่อสารนั้นการฟังถือว่าเป็นการสื่อสารที่เกิดขึ้นมากที่สุด โดยเมื่อตีช่องทางของการสื่อสารเป็นตัวเลข 100 การฟังมีส่วน 45% ของการสื่อสาร ในขณะที่การพูด การอ่าน และการเขียนนั้น มีส่วน 30, 16 และ 9% ของช่องทางการสื่อสาร ในเมื่อการสื่อสารโดยการฟังนั้นมีความสำคัญ อะไรเป็นปัจจัยทำให้การฟังนั้นไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ประสบความสำเร็จในที่นี้ คือ การฟังไม่รู้เรื่องนั่นเอง ในบล็อกนี้ก็ได้หยิบจับประเด็นต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้เรียนภาษานั้นเกิดความยากลำบากในการฟัง ยกตัวอย่างเช่น ผู้พูดพูดเร็ว มีเสียงรบกวน หรือไม่สามารถเดา