การฝึกทักษะการฟังของผู้เรียนภาษาอังกฤษ

สิ่งสำคัญ 5 ประการในการฝึกทักษะการฟังของผู้เรียนภาษาอังกฤษ

Credit: Raphael Ahmed

เป็นบทความที่แนะนำการฝึกฝนตัวเองในการพัฒนาทักษะด้านฟังของผู้เรียนภาษาอังกฤษ เขาเริ่มประเด็นก่อนเลยว่าทำไมทักษะการฟังจึงมีความสำคัญ โดยเขายกตัวอย่างว่าในกระบวนการสื่อสารนั้น มีตั้งแต่การฟัง การเขียน การพูด และการอ่าน ซึ่งในการสื่อสารนั้นการฟังถือว่าเป็นการสื่อสารที่เกิดขึ้นมากที่สุด โดยเมื่อตีช่องทางของการสื่อสารเป็นตัวเลข 100 การฟังมีส่วน 45% ของการสื่อสาร ในขณะที่การพูด การอ่าน และการเขียนนั้น มีส่วน 30, 16 และ 9% ของช่องทางการสื่อสาร ในเมื่อการสื่อสารโดยการฟังนั้นมีความสำคัญ อะไรเป็นปัจจัยทำให้การฟังนั้นไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ประสบความสำเร็จในที่นี้ คือ การฟังไม่รู้เรื่องนั่นเอง ในบล็อกนี้ก็ได้หยิบจับประเด็นต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้เรียนภาษานั้นเกิดความยากลำบากในการฟัง ยกตัวอย่างเช่น ผู้พูดพูดเร็ว มีเสียงรบกวน หรือไม่สามารถเดาการสื่อความได้เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางโทรศัพท์ซึ่งไม่เห็นภาพ การรู้ศัพท์น้อย มีอุปสรรคในเรื่องสำเนียง เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งในบล็อกนี้ได้แนะนำเครื่องมือที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนนั้นพัฒนาทักษะการฟังได้ดียิ่งขึ้น อันได้แก่

1. การคาดเดาเนื้อหา

ในกระบวนการฝึกนี้ เขาลองให้เราฝึกที่จะคาดเดาเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในสถานการณ์หนึ่ง เช่น เมื่อเราเปิดทีวี และเห็นผู้ชายใส่สูตร พ้อมกับมีสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น พระอาทิตย์ รูปฝนตก หรือรูปกระแสลม เราสามารถเดาได้อย่างคราว ๆ ได้เลยว่าน่าจเป็นการสื่อสารถึงในเรื่องการพยากรณ์อากาศ ซึ่งในการพยากรณ์นั้น เราจะได้ยินประโยคที่กล่าวถึง การคาดการไปข้างหน้า (future tense) ในรายการดังกล่าว

สิ่งที่เขาแนะนำให้ฝึกฝน คือ ให้เราลองเปิดทีวีโปรแกรม หรือสื่อออนไลน์ต่าง ๆ และพยายามที่จะเรียนรู้ถึงการคาดเดาโดยการหยุดบทสนทนาเป็นพัก ๆ และคาดเดาโดยตัวของเราเองว่าผู้พูดจะพูดอะไรเพื่อเป็นการตรวจสอบความเข้าใจในการฟังของเรา

สำหรับการทำข้อสอบนั้น ผู้เขียนแนะนำว่าให้เราดูเนื้อหาของคำถามอย่างคร่าว ๆ และพยายามฟังเพื่อที่จะหาคำตอบจากการฟัง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคำถามถามถึงจำนวน นั่นแสดงว่าบททดสอบต้องมีการพูดถึงถึงตัวเลขหรือการวัดปริมาณต่าง ๆ อย่างนี้ เป็นต้น

2. การเก็บภาพรวม


ในครั้งนี้ผู้เขียนให้เราจินตนาการว่าเราเป็นมนุษย์ผู้มีพลังวิเศษในการเหาะเหินเดินอากาศได้ ซึ่งทำให้เราสามารถมองเห็นภาพรวมของเมืองว่ามีขนาดใหญ่เท่าไหร่ และมีความแอดอัดมากน้อยเพียงใด เมื่อเอามาเปรียบเทียบกับการฟัง การที่เราจะเห็นภาพรวมดั่งกล่าวได้นั้น การได้ยินเนื้อหาของคำบางคำเป็นลำดับขั้นตอน ทำให้เราสามารถบอกได้ว่าผู้พูดกำลังสื่ออะไร

ยกตัวอย่างเช่น หลอดทดลอง เสื้อแลบ ไปเปต สารเคมี เมื่อเราได้ยินคำเหล่านี้เป็นลำดับ เราอาจเดาได้ว่าผู้พูดกำลังสื่อถึงห้องปฏิบัติการ อย่างนี้เป็นต้น

สิ่งที่เขาแนะนำให้ฝึกฝน คือ การหาวีดีโอที่เราสนใจและมีคำแปลประกอบ ดูหัวข้อของวีดีโอนั้น ๆ และให้เราลองพยายามหาคำที่เกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าวนั้น จากนั้นให้เราลองดูคำแปลประกอบและลองสำรวจตัวเองดูว่าเรามีความเข้าใจมากน้อยขนาดไหนจากการดูวีดีโอดังกล่าว และลองทำซ้ำอีกทีเมื่อเวลาผ่านไปสักพัก อาจจะเป็นอาทิตย์หรือสองอาทิตย์ก็ได้

มีข้อแนะนำเล็กน้อยในเรื่องการเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ โดยเขาแนะนำให้เราจัดกลุ่มคำศัพท์ที่ใช้กับสถานการณ์ดังกล่าวแล้วนำไปเชื่อมโยงกับศัพท์ใหม่ที่มีบริบทความหมายอย่างเดียวกัน โดยการทำเป็นแผนผังใยแมงมุม หรือ mind maps จะช่วยให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. การค้นหาข้อความสัญลักษณ์

การค้นหาดังกล่าวจะช่วยให้เรามีความเข้าใจมากขึ้นว่าผู้พูดกำลังจะสื่อถึงอะไร ยกตัวอย่างเช่น ในการฟังการบรรยายทางวิชาการเรื่องปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคร้อน เราจะได้ยินประโยคที่แสดงถึงการเรียงลำดับของปัจจัยดังกล่าว เช่น first of all, moving on to หรือ in summary เพื่อที่จะบ่งบอกลำดับของแต่ละปัจจัย หรือแม้กระทั่ง การทำให้ประโยคมีความชัดเจนมากขึ้นจากการยกตัวอย่าง เช่น for example, to illustrate this, in other words เป็นต้น

สิ่งที่เขาแนะนำให้ฝึกฝน คือ การหาสื่อที่โดยปกติใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยนำมาใช้ในการฝึกฝน อาจจะเป็นสื่อที่ยกสสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การนำเสนอทางด้านธุรกิจ หรือกาาสอนในชั้นเรียน เพื่อห้เราฝึกฝนในการหาข้อความสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยทำการจดบันทึกเอาไว้และนำไปตรวจสอบกับบทสนทนาที่ให้มากับสื่อการเรียนนั้น ๆ

ข้อแนะนำเล็กน้อยที่เขาเขียนไว้ คือ พยายามจัดกลุ่มของประโยคสัญลักษณ์ดังกล่าวตามลักษณะการใช้ เช่น การใช้เรียงลำดับ ซึ่งประกอบไปด้วยประโยคดังต่อไปนี้ first of all, next, moving on to เป็นต้น และพยายามเพิ่มเติมข้อความใหม่ ๆ เมื่อมีโอกาส

4. ฟังเพื่อหารายละเอียด

เป็นทักษะการฝึกการฟังเพื่อเอารายละเอียด ซึ่งเป็นการฟังเพื่อตอบคำถามที่มีรายละเอียดมากยิ่งขึ้น เช่น เหตุการณ์นี้พูดถึวอะไร เมื่อไหร่ ใครเกี่ยวข้องบ้าง กี่คน และเกิดขึ้นนานไหม อย่างนี้้เป็นต้น

โดยข้อแนะนำที่เขาให้เราลองทำตาม คือ ให้เราลองตั้งคำถามดูว่าเราต้องการจะรู้อะไร และไปหาสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ที่เราคาดว่าน่าจะได้คำตอบจากตรงนั้น

ข้อแนะนำสำหรับการทำข้อสอบ คือ เมื่อเราได้ข้อสอบมา ให้เราอ่านคร่าว ๆ ในส่วนของเนื้อหาที่เป็นคำถาม และจดรายละเอียดอย่างย่อออกมา แล้วทำการวิเคราะห์ดูว่าเราต้องการที่จะได้ข้อมูลอะไรบ้างจากการฟัง

5. การใช้สัญชาตญาณเก่า

เป็นการคาดเดาจากจากบทสนทนาโดยใช้ความรู้เก่าของเรามาวิเคราะห์ว่าเขาน่าจะสื่อถึงเรื่องอะไร เขายกตัวอย่างเมื่อ

A: Tom, did you do your homework?
B: I did, sir, but the dog ate it.
A: That's a terrible excuse. You'll never pass your exams if you don't work harder.

เมื่อเราได้ยินคำว่า homework และ exam เราสามารถเดาได้ว่าน่าจะเป็นการพูดคุยระหว่างอาจารย์ และนักศึกษา และบทสนทนาดังกล่าวน่าจะเกิดขึ้นในห้องเรียน

สิ่งที่เขาแนะนำให้ฝึกฝนก็คือ การหาสื่อออนไลน์ อาจจะเป็นซีรี่ส์เรื่องที่เราสนใจ โดยในครั้งแรกนั้น เราไม่ดูภาพ แต่ตั้งใจฟังบทสนทนากันของตัวละคร และพยายามเดาถึงสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว คู่บทสนธนาควรจะเป็นระหว่างใครกับใคร และมีความสัมพันธ์แบบไหน เมื่อเราลองเดาจากสัญชาตญาณเก่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว คราวนี้ลองฟังดูอีกครั้ง และดูภาพประกอบไปด้วยเพื่อเช็คความเข้าใจของเราว่าถูกต้องหรือไม่

เกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เขาแนะนำ คือ ถึงแม้ว่ามีศัพท์บางคำที่เราไม่เข้าใจ แต่จากการคาดเดาความหมายจากบริบทรอบข้าง จะทำให้เรามีความเข้าใจในการฟังมากขึ้น ตบท้ายเขาบอกว่า การฟังของเราจะพัฒนาดีขึ้นได้นั้น ขึ้นอยู่การฝึกฝนของตัวของเราเอง

สรุป
ถึงแม้ว่าการคาดเดาเหตุการณ์ จะเป็นการฝึกฝนเบื้องต้นของการฟัง แต่เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เราควรจะใช้ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้นไปอย่างพร้อม ๆ กัน ไม่เน้นเฉพาะอันใดอันหนึ่ง

Comments

Popular posts from this blog

Useful links (updated: 2025-01-10)

Odd ratio - อัตราส่วนของความต่าง

Note: A Road to Real World Impact (new MU-President and Team) - update 12 Sep 2024