สรุปจาก คลื่นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่รอบ 100 ปี : คนเคาะข่าว 06-10-64
28 Oct 2021
Increase the debt ceiling in US decision
เอเวอร์แกรดน์ ในประเทศจีน ที่เป็นเรื่องของฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์
วิกฤตเศรษฐกิจ เริ่มมาตั้งแต่กลางปี 2021 และจะเริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ อีก 18 เดือนถัดมา (คือ กินเวลาไปถึงปี 2565) -- ซึ่งจะเห็นผลชัดเจนสุดคือ ไตรมาส 2-3 ในช่วงปีหน้า
ตอนนี้กำลังหาเชลยว่าใครจะเป็นคนเริ่มต้นทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ -- สิ่งที่เห็นในปัจจุบันตอนนี้คือ เรื่อง “วิกฤตสภาพคล่อง” คือ ไม่มีเงินสดในการหมุนธุรกิจ
สหรัฐอเมริกา -- กำลังที่จะขอทำเรื่องการขยับเพดานหนี้ -- ซึ่งโดนฟันธงไว้ว่าต้องทำการขยับเรื่อย ๆ เพราะ
สังเกตได้จาก ทุกครั้งก่อนการขยับจะมีการทุบหุ้นลงมาเพื่อแสดงให้เห็นถึง wealth ที่หายไป ถ้าไม่มีการเพิ่มเพดานหนี้ ก็จะทำให้ตลาดทุนอยู่ไม่ได้
หนี้มีตั้งแต่ หนี้มลรัฐ บริษัทเอกชน และมูลค่าของบริษัท ก็ใหญ่มาก เมื่อเทียบกับ สมัยปี 2000 ซึ่งถ้าล้มมาก็จะมีปัญหาใหญ่ เนื่องจากเป็น บ. ที่มีขนาดใหญ่ และในขณะเดียวกัน ก็มีพวกบริษัทซอมบี้ คือ เป็นบริษัท ที่ไม่มีความสามารถในการแข่งขันในโลก ปัจจุบันแล้ว
คุณภาพตราสารหนี้ ที่ยังไม่แน่ใจว่าความเชื่อมั่นยังจะคงมีอยู่หรือเปล่า เพราะถ้า digital yuan เกิดขึ้นทำให้ระบบการเงิน ไม่ต้องผูกกับระบบ swift ในการโอนเงิน ซึ่งถ้าจะเปิดได้ต้องมีดอลลลาร์เป็นเงินสำรอง แต่ไปผูกกับระบบดิจิตอลหยวน ซึ่งคุณภาพของพันธบัตร จะขึ้นอยู่กับ สภาพเศรษฐกิจ
ถ้าพันธบัตรราคาขึ้น แสดงว่าเศรษฐกิจไม่ค่อยดี เพราะประเทศพยายามที่จะดึงเงินเข้ามาซื้อพันธบัตร เพื่อเป็นการนำเงินเข้ามาในประเทศ แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศก็ต้องหาวิธีที่จะต้องจ่ายผลตอบแทนของพันธบัตร ก็จะทำให้เกิดหนี้เพิ่มขึ้นเข้าไปอีก ซึ่งรายได้ 80% ของภาษี มาจากการเก็บจากประชาชนทั้งนั้น
สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ตั้งประเทศขึ้นมา ระบบเศรษฐกิจ ถูกขับเคลื่อนไปได้ด้วยหนี้ (เข้าใจว่าเป็นการกู้ยืมมาทำธุรกิจ เพื่อขับเคลื่อนประเทศ)
เงินดอลลาร์ในระบบตอนนี้เฟ้อมาก (มูลค่าต่ำลง -- คนเริ่มไม่ค่อยให้ความเชื่อถื่อ) ซึ่งเกิดมาจากการพิมพ์เงินเข้าระบบ เพื่อรักษาระบบการเงิน ซึ่งมันล้นระบบ
Wealth gap ห่างขึ้น
หุ้นรายใหญ่ตอนนี้ขึ้น all time high แล้ว และบริษัทใหญ่ ๆ ก็เริ่ม exit ออกมาบ้างแล้ว เพื่อเก็บเงิน
การจัดเก็บภาษาีเพิ่ม สำหรับ corporate ต้องดูก่อนว่า congress จะให้ผ่านไหม แต่ยากมาก เพราะเท่าที่เห็น เก็บได้น้อยมาก เพราะว่าบริษัทเหล่านี้ไปตั้งอยู่ในกลุ่มประเทศที่เก็บภาษีต่ำ
FED และ กระทรวงการคลังของอเมริกา ก็มองเห็นตรงนี้ ถ้าอเมริกาไม่สามารถใช้หนี้กับประเทศที่ซื้อพันธบัตรไปได้ wealth ของประเทศนั้น ๆ จะหายไปทันที สาเหตุที่เราต้องซื้อพันธบัตร เพราะเอามาเป็นแบคในเรื่องการทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
จีน -- อสังหามีจำนวนมากกว่าคน ทำให้มันเฟ้อ
4 ธนาคารใหญ่ ABC, BOC, ICBC, CCBC -- วึ่งจะคอยเทคโอเวอร์ธนาคารระดับมลฑล เมื่อธุรกิจธนาคารไปไม่ได้ จริง ๆ แล้วระบบนี้ ก็คล้ายกันกับ สหรัฐอเมริกาที่มีแบงค์ใหญ่ไม่กี่แห่ง และถ้า ธ.เล็ก ดำเนินธุรกิจไม่ได้ ธ.ใหญ่ก็จะเข้าซื้อกิจการเหมือนกัน การที่มีดครงสร้างที่คล้ายคลึงแบบนี้ เป็นเพราะว่า ระบบมันถูกออกแบบมาจากคนเดียวกัน
ซึ่งสภาพคล่องของเศรษฐกิจก็ไม่ค่อยจะดีเหมือนกัน
ความแตกต่างระหว่างจีน กับอเมริกา คือ การพยายามเปลี่ยนผ่านไปประเทศเข้าสู่เทคโนโลยี โดยทำให้ทุกคนสามารถที่จะเข้าถึงตรงนี้ได้ โดยไปเปลี่ยนแปลงถึงระดับการเรียนการสอน รวมไปถึง บ.เทค
เริ่มเตรียมรับสภาวะสงคราม
รัฐเซีย
จำกัดการขายแก๊สให้กับยุโรป
The great reset
จะมีความชัดเจนมากขึ้นในปีหน้า
ระบบบนโลกตอนนี้กำลังรันอยู่ระบบดิจิตัล ซึ่งก็จะมีองค์กรหนึ่งในการดูแล ระบบตรงนี้
ถ้าคนเรากลัวถึงจุด ๆ หนึ่ง คนเราจะยอมสละ privacy ทันที
เป็นไปไม่ได้ที่โลกจะไม่มีความขัดแย้ง เพราะมันเป็นส่วนที่ทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจ
ปีหน้า น่าจะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงต้นปีหน้า 2565 ซึ่งปัญหาจะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นจากการที่ บ. ไม่สามารถชำระหนี้ได้
Asset allocation
แนะนำเรื่องการซื้อพันธบัตรรัฐบาล เพื่อพักเงินไว้ก่อน ที่อายุไม่เกินหนึ่งปี
ซื้อกิจการในโลกอนาคตในราคาที่ถูก
ทองยังเป็น safe haven for digital transformation เพราะว่า ธ. กลางหลาย ๆ ประเทศก็ยังใช้ทองคำแบคในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน
น้ำมันขึ้น ดีมานด์ดอลลาร์จะมา
ดีมานด์ดอลลาร์มา ทองคำจะตก
ประเทศไทย ระบบเศรษฐกิจน่าจะฟื้นยาก
การหารายได้เข้าประเทศเรา หนัก ๆ คือการท่องเที่ยว ซึ่งตอนนี้ฟื้นตัวยากมากเพราะยังติดเรื่องการจัดการโรคระบาดโควิด จีนคิดว่าจะอนุญาตให้คนเดินทางไปต่างประเทศได้น่าจะเป็น 2566 ซึ่งในตัวประเทศเขาเองไม่มีปัญหาอยู่แล้ว เพราะตอนนี้เขากระตุ้นการบริโภคภายในประเทศให้สามารถอยู่ได้
ไม่มี innovation เป็นของตัวเอง
มี debt ceiling ที่เพิ่มขึ้นเรือย ๆ
Aging population ที่เพิ่มขึ้น
Comments
Post a Comment