Quick visit at Thailand Innovation and Design 2017
Info: www.thailandinnodesign.com // Department of International Trade Promotion Ministry of Commerce, Thailand (DITP)
งานนิทรรศการชิ้นนี้เห็นมาจาก บล็อกของเพื่อนท่านหนึ่งใน facebook เหมาะเจาะกับความสนใจในเรื่องดังกล่าว และเวลาว่างตรงกันพอดี เลยมีโอกาสได้เดินทางไปยังศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อไปดูว่างาน innovation และ design มีอะไรที่น่าสนใจบ้าง
ทางเข้าป้ายอาจจะค่อนข้างเล็กนิดนึง แต่งานข้างในตระการตามาก และพร้อมไปด้วยข้อมูลของเจ้าของสินค้า
เป็นโบรชัวร์ที่เอาไว้ประกอบการเดินดูงาน นอกจากนี้แล้วยังมีกิจกรรมต่าง ๆ ให้ร่วมในห้องประชุมข้าง ๆ กัน แต่เนื่องจากเวลาจำกัด จึงได้แค่เดินดูไอเดียต่าง ๆ ในห้อง plenary hall แทน
เมื่อเข้ามาถึงห้องประชุม งานจะจัดแสดงไว้เป็นบล็อก ๆ แยกตามลักษณะของตัวผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีค่อนข้างหลากหลายมาก มีตั้งแต่เรื่องการแพทย์ การเกษตร การออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงแอพลิเคชั่นที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับชีวิตประจำวัน
แต่ละที่ตั้ง จะแสดงถึงที่มาที่ไปของผลิตภัณฑ์ ซึ่งทำได้สมสัดส่วน และบอกถึงแหล่งที่สามารถติดต่อถึงเจ้าของผลงาน เพื่อทำการซื้อหรือทำการติดต่อในเชิงธุรกิจต่อไป
เป็นผลิตภัณฑ์วีลแชร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อสังคมผู้สูงวัย ที่นับวันจะเป็นมีจำนวนมากขึ้น
เป็นผลิตภัณฑ์จากกลุ่มการเกษตรกรเลี้ยงไหม ซึ่งจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ประจำบูธ จริง ๆ แล้วเป็นงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ร่วมมือกับชาวบ้านในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากการเลี้ยงไหม มีตั้งแต่การทำโลชั่น สบู่ แชมพู เป็นต้น
ไม่นึกว่าปุ๋ยจากมูลไส้เดือนจะถูกนำมาทำเป็น package และส่งขายไปยังที่ต่าง ๆ
ภาพข้างล่างจะเป็นภาพที่แสดงถึงความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่คนไทยได้ทำขึ้นมาและนำมาจัดโชว์ไว้ในงานดังกล่าว
ที่รองจานหิน ซึ่งทำมาจากกก มีความแข็งแรง เหนียว และทนทาน
การประยุกต์เอาลวดลายของเซรามิกมาทำเป็นเครื่องประดับชนิดต่าง ๆ
เนื่องจากกำแพงเพชรเป็นจังหวัดที่มีกล้วยเยอะ ขายไม่ทันก็ต้องเอาส่วนหนึ่งมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าของสินค้า
ผลิตภัณฑ์ทางด้านการแพทย์ ภาพแรกจะเป็นชุดตรวจเชื้อ TB และอย่างที่สองจะเป็นกระเป๋า first aid ที่บรรจุอุปกรณ์สำหรับการทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
อุปกรณ์สำหรับการเก็บผลไม้ก็มีอยู่ในงานนี้ด้วย ลักษณะเหมือนตะกร้อที่ใช้เก็บมะม่วง
อันนี้เป็นอันที่ใช้อยู่ที่บ้าน มีลักษณะไก่กาแต่ก็สามารถสอยมะม่วง รวมไปถึงมะยงชิดได้เป็นอย่างดี (แต่ตัวไม้หนักมาก อยากได้อะไรที่เบากว่านี้ และเก็บผลไม้ได้จากที่สูง เช่น พวกมะพร้าว)
เป็นกลุ่มอาหารการกินเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร ภาพอันสุดท้ายไปสอยมา 1 แพค
เป็นบูธที่เกี่ยวกับ application บนมือถือต่าง ๆ ที่ทำให้ชีวิตมีความปลอดภัยมากขึ้น
เป็น wristband ที่เก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของเรา และมีบริษัทที่ทำการเก็บขอมูลดังกล่าว เผื่อเกิดกรณีฉุกเฉินจะได้รู้ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง เหมาะมากกับเด็ก และผู้สูงอายุที่อาจจะมีปัญหาทางสุขภาพในการเรื่องการดูแลตนเอง หรือแม้กระทั่งคนปกติที่เกิดเหตุฉุกเฉินบางอย่างจนทำให้เขาไม่สามารถสื่อสารได้
อีกหลาย ๆ แอพพลิเคชั่นที่นำเอาการดำเนินชีวิตประจำวัน มาเป็นดีลทางด้านธุรกิจเพื่อหารายได้ รวมไปถึงการจับคู่กันระหว่างผู้ผลิตความคิดกับนักลงทุน เพื่อนำไอเดียไปต่อยอดทางด้านธุรกิจ
ภาพข้างบนเป็นภาพที่แสดงถึงความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มีตั้งแต่การนำความรู้ทางด้าน nanotechnology ในเชิง distribution of active compunds เพื่อนำมาใช้ในเชิงเภสัชสำอางค์ (ภาพแรก) สำหรับภาพที่สองเป็นการนำผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมาเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์ชนิดต่าง ๆ สำหรับภาพสุดท้ายนั้นเป็นการดีไซน์อุปกรณ์ office เพื่อลด ergonomic stress อันจะเกิดได้จาก office syndrome
สุดท้าย สกว.ก็มาออกบูธด้วย เท่าที่สอบถามจากเจ้าหน้าที่ประจำบูธ รู้สึกได้เลยว่า TRF makes a move มากในเรื่อง branding ของตัวผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ทางด้านการเกษตร อาหาร และเวชสำอางค์ โดยใช้ branding ของ "Innovativehouse" เพื่อนำเอาความรู้ทางด้านวิจัยไปเป็นข้อมูลประกอบกับตัวผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าทางด้านธุรกิจ รวมไปถึงการเปิดรับไอเดียใหม่ ๆ จากผู้ประกอบการ และทาง สกว. จะมีทีมที่ปรึกษาเพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจอีกด้วย what a move จริง ๆ
------
My point of view: เนื่องจากเราทราบกันดีอยู่แล้วว่า งานวิจัยเป็นงานที่ทำโดยมีการควบคุมอะไรหลาย ๆ อย่างเพื่อให้การแปลผลเป็นไปอย่างถูกต้องและแม่นยำ แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีตัวแปรอีกหลาย ๆ อย่างที่ทำให้ผลที่ได้จากการทดลองที่ได้จากห้องปฎิบัติการวิจัย ไม่เป็นไปตามที่คาดไว้เมื่อนำเอามาใช้จริง ดังนั้น จะเลือกหรือหยิบจับผลิตภัณฑ์อะไร หมั่นสังเกตอยู่เสมอว่าเราจะเป็นคนส่วนมากที่ใช้ได้ผลดี หรือจะเป็นคนส่วนน้อยที่ใช้แล้วอาจได้ผลไม่ดี เนื่องมากจากความหลากหลายในเชิงชีวภาพของสิ่งมีชีวิตเองแล
งานนิทรรศการชิ้นนี้เห็นมาจาก บล็อกของเพื่อนท่านหนึ่งใน facebook เหมาะเจาะกับความสนใจในเรื่องดังกล่าว และเวลาว่างตรงกันพอดี เลยมีโอกาสได้เดินทางไปยังศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อไปดูว่างาน innovation และ design มีอะไรที่น่าสนใจบ้าง
ทางเข้าป้ายอาจจะค่อนข้างเล็กนิดนึง แต่งานข้างในตระการตามาก และพร้อมไปด้วยข้อมูลของเจ้าของสินค้า
เป็นโบรชัวร์ที่เอาไว้ประกอบการเดินดูงาน นอกจากนี้แล้วยังมีกิจกรรมต่าง ๆ ให้ร่วมในห้องประชุมข้าง ๆ กัน แต่เนื่องจากเวลาจำกัด จึงได้แค่เดินดูไอเดียต่าง ๆ ในห้อง plenary hall แทน
เมื่อเข้ามาถึงห้องประชุม งานจะจัดแสดงไว้เป็นบล็อก ๆ แยกตามลักษณะของตัวผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีค่อนข้างหลากหลายมาก มีตั้งแต่เรื่องการแพทย์ การเกษตร การออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงแอพลิเคชั่นที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับชีวิตประจำวัน
แต่ละที่ตั้ง จะแสดงถึงที่มาที่ไปของผลิตภัณฑ์ ซึ่งทำได้สมสัดส่วน และบอกถึงแหล่งที่สามารถติดต่อถึงเจ้าของผลงาน เพื่อทำการซื้อหรือทำการติดต่อในเชิงธุรกิจต่อไป
เป็นผลิตภัณฑ์วีลแชร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อสังคมผู้สูงวัย ที่นับวันจะเป็นมีจำนวนมากขึ้น
เป็นผลิตภัณฑ์จากกลุ่มการเกษตรกรเลี้ยงไหม ซึ่งจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ประจำบูธ จริง ๆ แล้วเป็นงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ร่วมมือกับชาวบ้านในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากการเลี้ยงไหม มีตั้งแต่การทำโลชั่น สบู่ แชมพู เป็นต้น
ไม่นึกว่าปุ๋ยจากมูลไส้เดือนจะถูกนำมาทำเป็น package และส่งขายไปยังที่ต่าง ๆ
ภาพข้างล่างจะเป็นภาพที่แสดงถึงความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่คนไทยได้ทำขึ้นมาและนำมาจัดโชว์ไว้ในงานดังกล่าว
ที่รองจานหิน ซึ่งทำมาจากกก มีความแข็งแรง เหนียว และทนทาน
การประยุกต์เอาลวดลายของเซรามิกมาทำเป็นเครื่องประดับชนิดต่าง ๆ
เนื่องจากกำแพงเพชรเป็นจังหวัดที่มีกล้วยเยอะ ขายไม่ทันก็ต้องเอาส่วนหนึ่งมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าของสินค้า
ผลิตภัณฑ์ทางด้านการแพทย์ ภาพแรกจะเป็นชุดตรวจเชื้อ TB และอย่างที่สองจะเป็นกระเป๋า first aid ที่บรรจุอุปกรณ์สำหรับการทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
อุปกรณ์สำหรับการเก็บผลไม้ก็มีอยู่ในงานนี้ด้วย ลักษณะเหมือนตะกร้อที่ใช้เก็บมะม่วง
อันนี้เป็นอันที่ใช้อยู่ที่บ้าน มีลักษณะไก่กาแต่ก็สามารถสอยมะม่วง รวมไปถึงมะยงชิดได้เป็นอย่างดี (แต่ตัวไม้หนักมาก อยากได้อะไรที่เบากว่านี้ และเก็บผลไม้ได้จากที่สูง เช่น พวกมะพร้าว)
เป็นกลุ่มอาหารการกินเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร ภาพอันสุดท้ายไปสอยมา 1 แพค
เป็นบูธที่เกี่ยวกับ application บนมือถือต่าง ๆ ที่ทำให้ชีวิตมีความปลอดภัยมากขึ้น
เป็น wristband ที่เก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของเรา และมีบริษัทที่ทำการเก็บขอมูลดังกล่าว เผื่อเกิดกรณีฉุกเฉินจะได้รู้ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง เหมาะมากกับเด็ก และผู้สูงอายุที่อาจจะมีปัญหาทางสุขภาพในการเรื่องการดูแลตนเอง หรือแม้กระทั่งคนปกติที่เกิดเหตุฉุกเฉินบางอย่างจนทำให้เขาไม่สามารถสื่อสารได้
อีกหลาย ๆ แอพพลิเคชั่นที่นำเอาการดำเนินชีวิตประจำวัน มาเป็นดีลทางด้านธุรกิจเพื่อหารายได้ รวมไปถึงการจับคู่กันระหว่างผู้ผลิตความคิดกับนักลงทุน เพื่อนำไอเดียไปต่อยอดทางด้านธุรกิจ
ภาพข้างบนเป็นภาพที่แสดงถึงความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มีตั้งแต่การนำความรู้ทางด้าน nanotechnology ในเชิง distribution of active compunds เพื่อนำมาใช้ในเชิงเภสัชสำอางค์ (ภาพแรก) สำหรับภาพที่สองเป็นการนำผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมาเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์ชนิดต่าง ๆ สำหรับภาพสุดท้ายนั้นเป็นการดีไซน์อุปกรณ์ office เพื่อลด ergonomic stress อันจะเกิดได้จาก office syndrome
สุดท้าย สกว.ก็มาออกบูธด้วย เท่าที่สอบถามจากเจ้าหน้าที่ประจำบูธ รู้สึกได้เลยว่า TRF makes a move มากในเรื่อง branding ของตัวผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ทางด้านการเกษตร อาหาร และเวชสำอางค์ โดยใช้ branding ของ "Innovativehouse" เพื่อนำเอาความรู้ทางด้านวิจัยไปเป็นข้อมูลประกอบกับตัวผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าทางด้านธุรกิจ รวมไปถึงการเปิดรับไอเดียใหม่ ๆ จากผู้ประกอบการ และทาง สกว. จะมีทีมที่ปรึกษาเพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจอีกด้วย what a move จริง ๆ
------
My point of view: เนื่องจากเราทราบกันดีอยู่แล้วว่า งานวิจัยเป็นงานที่ทำโดยมีการควบคุมอะไรหลาย ๆ อย่างเพื่อให้การแปลผลเป็นไปอย่างถูกต้องและแม่นยำ แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีตัวแปรอีกหลาย ๆ อย่างที่ทำให้ผลที่ได้จากการทดลองที่ได้จากห้องปฎิบัติการวิจัย ไม่เป็นไปตามที่คาดไว้เมื่อนำเอามาใช้จริง ดังนั้น จะเลือกหรือหยิบจับผลิตภัณฑ์อะไร หมั่นสังเกตอยู่เสมอว่าเราจะเป็นคนส่วนมากที่ใช้ได้ผลดี หรือจะเป็นคนส่วนน้อยที่ใช้แล้วอาจได้ผลไม่ดี เนื่องมากจากความหลากหลายในเชิงชีวภาพของสิ่งมีชีวิตเองแล
Comments
Post a Comment