Note: Deciding When to Use PARP Inhibitors, and Which One
บทความเก่า แต่เอามาเขียนสรุปสำหรับความเข้าใจตัวเอง
https://www.ajmc.com/view/deciding-when-to-use-parp-inhibitors-and-which-one
โดยรวม
- เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้ PARP1 inhibitor ว่าควรจะใช้เมื่อไหร่ ให้กับคนไข้ประเภทไหน และต้องข้อบ่งชี้อะไรบ้างก่อนที่จะให้ PARP1 inhibitor เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- โฟกัสมะเร็งรังไข่
- เนื่องจากตอนนี้มี PARP1 inhibitors อยู่ 3 ตัว ที่อยู่ในการทดลองระดับคลินิค
1.olaparib
2.rucaparib
3.niraparib
- ยาทั้ง 3 ตัวมีโครงสรางทางเคมีต่างกัน และให้ประสิทธิผล และผลข้างเคียงที่ต่างกัน ดังนั้นจึงมีคำถามว่า
1. ควรให้ PARP1 แก่คนไข้ประเภทไหนดี
2.ควรจะให้เมื่อไหร่
3.อะไรเป็นตัวบ่งชี้ (biomarkers) ว่าคนไข้คนนี้ควรจะได้รับ PARP1 และดูว่า PARP1 มีประสิทธิภาพในการรักษาแค่ไหน
4.ควรให้ PARP1 inhibitors ตัวไหน
- การตัดสินใจว่าเมื่อไหร่จะใช้ PARP1 inhibitors -- ดูจากเรื่องการซ่อมแซมดีเอ็นเอของตัวเซลล์
- HR (homologous recombination) เป็นกระบวการหนึ่งในการซ่อมแซมดีเอ็นเอหักแบบสายคู่ (DNA double strand break repair) ซึ่งป้องกันเซลล์ปกติไม่ให้เกิดการกลายพันธุ์จนกระทั่งกลายไปเป็นเซลล์มะเร็ง
- การกลายพันธุ์ของ BRCA ที่พบเจอในเซลล์มะเร็ง มีผลกระทบต่อการซ่อมแซมแบบ HR ทำให้เซลล์ปกติกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้
- ในช่วงปี 2005 มีการค้นพบว่า การยับยั้งการทำงานของ PARP ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่ซ่อมแซมดีเอ็นเอหักแบบสายเดี่ยว (single broken strands) ส่งผลต่อดีเอ็นเอของเซลล์มะเร็งโดยที่ดีเอ็นเอของเซลล์มะเร็งมีความเสียหายแบบหักเป็นสายคู่มากขึ้น ซึ่งทำให้เซลล์มะเร็งไม่สามารถอยู่รอดได้ ในขณะที่เซลล์ปกตินั้นยังสามารถรอดชีวิตอยู่ได้
- 40-50% ของคนที่เป็น epithelial ovarian cancer มักจะมีการเปลี่ยนแปลงในระดับพันธุกรรมของยีนที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมแซมแบบ HR
- ซึ่งถ้าเราสามารถรู้ได้ว่าคนไข้คนนี้ มีการเปลี่ยนแปลงในระดับพันธุกรรมของเซลล์สืบพันธุ์ (germline) หรือเซลล์ร่างกาย (somatic) ที่ส่งผลต่อการทำงานของ HR ตรงนี้จะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้ว่า เราควรจะใช้ PARP inhibitor
- Rucaparib -- เริ่มใช้คนไข้ที่มี BRCA mutations both germline/somatic mutations; ได้รับอย่างน้อย 2 lines of chemotherapy
- Olaparib -- ใช้สำหรับการรักษา (treatment) และ maintenance ของผู้ป่วยที่โรคมะเร็งไข่มีการกำเริบกลับมา (recurrent)
- Niraparib -- ใช้สำหรับ maintenance ของผู้ป่วยที่โรคมะเร็งรังไขกำเริบกลับมา
ตัวบ่งชี้ทางชีวิภาพว่าการซ่อมแซมดีเอ็นเอแบบ HR ชำรุดจริงใน ผป. ที่เป็นโรคมะเร็งรังไข่
- HR deficiency testing ยังมีความซับซ้อน และยังต้องการพัฒนาให้มีความแม่นยำมากขึ้น
- AREIL 2 trial -- ใช้ NGS ในการหา LOH ที่สัมพันธ์กับการสูญเสีย HR และตอบสนองต่อการรักษาด้วย Rucaparib ข้อมูลจากการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่า กลุ่ม BRCA mutant ให้การตอบสนองต่อ Rucaparib ค่อนข้างดี เมื่อเทียบกับกลุ่ม BRCA-wt in both high and low LOH
- NOVA trial – ผป. ตอบสนองต่อ niraparib ค่อนข้างดีในกลุ่มที่มี BRCA mutations แต่อย่างไรก็ตาม non-BRCA mutation ก็ยังให้ผลที่ดี
เลือก PARP ตัวไหนดีในการรักษา?
มีหลายปัจจัยที่ต้องคิด
- ยาตัวอื่น ๆ ที่ ผป. กำลังได้รับอยู่ – drug-drug interaction
- ตารางการให้โดสยา
- ประกันสุขภาพจ่ายไหม
- PARP แต่ละตัวที่จะถูก metabolize โดยลักษณะทีแตกต่างกัน (detoxification steps from 1 to 3; biotransformation, conjugation and excretion)
- ความดันโลหิตที่สูงขึ้น (hypertension) และความอ่อนล้า (fatigue) เป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้หลังจากได้รับยาในกลุ่มนี้ ซึ่งการปรับโดสก็เป็นเรื่องสำคัญในการทีลดผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น
Comments
Post a Comment