Advanced care planning (you are what you eat) - update 2024-06-04



โน๊ตของวันนี้ที่ได้ฟัง สนุกสนานและได้ประโยชน์เป็นอย่างมาก -- พักหลัง ๆ สนใจงานแนว preventive medicine พอสมควร ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ลดโรคได้หลายโรค

การทำ ACP for NCDs

นพ.อรรถกร รักษาสัตย์

ACP

– เป็นเรื่องของการแพลนการรักษาอนาคต เมื่อตัวเองไม่สามารถตัดสินใจบอกความต้องการของตัวเองได้
– เป็นการางแพลนการรักษาล่วงหน้า ในกรณีที่ตัวเองไม่สามารถที่จะดูแลตัวเองได้แล้ว อาจทำเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้ อาจจะใช้กระบวนการสนทนาปรึกษาร่วมกัน ระหว่างผู้ป่วย ครอบครัว และทีมบุคลากรสุขภาพ หรือผู้ป่วยอาจทำได้ด้วยตัวเอง
– แนะนำให้ประกอบไปด้วย 3 กลุ่ม ทีมสุขภาพ ผู้ป่วย และสมาชิกที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย
– ผู้มีสิทธิ์ตัดสินใจแทน ไม่จำเป็นต้องเป็นญาติก็ได้ อาจจะเป็นเพื่อนสนิทก็ได้

Charlson Comorbidity Index

– เป็นโมเดลที่ใช้คำนวนว่าใครเป็นโรคเรื้อรังเหล่านี้โอกาสที่จะเสียชีวิตมีเท่าไหร่ และมีปัจจัยเรื่องอายุเข้ามาคิดคำนวนด้วย

(https://www.mdcalc.com/calc/3917/charlson-comorbidity-index-cci)

กินยังไงให้เกิดโรค
  • กินไม่เป็นเวลา
  • ไม่หิวก็กิน
  • ไม่รู้ว่ากินอะไร
  • ไม่รู้จักสารอาหาร
  • ไม่รู้ลำดับการกิน
  • ไม่รู้ว่าต้องหยุดกิน
สารอาหารหลัก ๆ
  • คาร์บ โปรตีน ไขมัน
กินที่ทำให้เกิดโรค คือ การทานอาหารที่มีคาร์บเยอะ และการกินคาร์บเยอะทำให้เกิดการกระตุ้นการหลั่งอินซูลินเยอะ พอเยอะก็เกิดการดื้ออินซูลิน

ดังนั้นต้องลดการกินคาร์บ และตัวร้ายที่สุด คือ น้ำตาล

กินตามลำดับให้ถูกต้อง
  • ให้กินโปรตีนกับผักก่อน แล้วค่อนกินคาร์บ
ช่วงเวลาการกิน
  • ต้องหยุดกินบ้างเพื่อให้ร่างกายใช้พลังงานจากแหล่งอื่น ๆ นอกเนื้อจาก glycogen ต้องฝึกร่างกายให้ใช้จากไขมันได้
การออกกำลังกายไม่สามารถช่วยในเรื่องน้ำหนักได้เยอะ ช่วยได้แค่ 10-20% แต่ตัวช่วยในเรื่องน้ำหนักคือการปรับอาหาร ซึ่งจะมีผลถึง 70-80%

คนที่เลิกอ้วนได้
  • แรงผลักดันที่ค่อนข้างแข็งแรงพอ ต้องหาตรงนี้ให้เจอเพื่อทำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
  • คิดหาวิธีที่จะลด โดยยั่งยืน
    • Diet control
    • Exercise
    • Mindfulness
  • จินตนาการว่าถ้าลดอ้วนแล้ว จะทำให้ชีวิตเราดียังไงบ้าง
  • การเขียนเรื่องเกี่ยวกับการเลิกอ้วน จะช่วยให้เรามีกำลังใจที่จะทำต่อได้
  • เลี่ยงอาหารแปรรูปต่าง ๆ เนื้อสัตว์ก็ต้องไม่แปรรูป
  • มื้อเช้าไม่ใช่เป็นมื้อที่สำคัญที่สุด แต่ให้ดูว่ารู้สึกหิวหรือเปล่า
โปรตีนเราควรกิน 1-1.5 กรัม ต่อ น้ำหนักตัว 1 kg ถ้าใครกิน 3 มื้อ ให้เฉลี่ยเอา

เวลาเราจะกินอะไร ให้นึกเลยว่ามีสารอาหารอะไรบ้าง และเราต้องการอะไรจากการกิน เวลาอ่านฉลากโภชนาการ ให้โฟกัสตรงที่สารอาหาร มากกว่าแคลอรี่ เช่น เลือกตัวที่มีคาร์บต่ำสุด ๆ และให้เลือกที่มีโปรตีนเยอะสุด

นมคือการผ่านกระบวนการแปรรูป นมจืดยังถือว่ามีน้ำตาล นมปรุงแต่งรสไม่แนะนำ

ไข่ให้โปรตีนประมาณ 6 กรัม

น้ำตาลเทียมก็ควรเลี่ยง เพราะว่าจะทำให้เราติดหวาน และสามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลินได้

พยายามกินให้เป็นมื้อ ๆ จะดีกว่า

ตัวที่กระตุ้นอินซูลินมากที่สุด คาร์บ>protein>lipid ถ้าเป็นไขมันต้องเป็นไขมันที่ดีด้วย

การออกกำลังกาย

ร่างกายจะใช้ ATP ก่อน (ดูสไลด์ประกอบ)


ความหิว

  • เลิกแอลกอฮอล์ก่อน
  • หิวจากพลังงาน – ให้เน้นโปรตีนก่อนเลย
  • หิวจากการเสพติดอาหาร น้ำตาล แป้ง + ไขมัน และพวก Ultra Process food มันจะไปกระตุ้นการหลั่งโดปามีน
  • จะแก้หิวตรงนี้ได้ ต้องเปลี่ยนลักษณะ Diet
  • ตรงนี้จะมีอาการลงแดง แก้ด้วยกาแฟดำ ชาใส หรือน้ำเกลือ อมน้ำเกลือ

เลี่ยงน้ำตาล เนื้อสัตว์หมัก เครื่องปรุงที่ไม่ธรรมชาติ ผงชูรส ผงนัว น้ำจิ้มหวาน เหนียวข้น High fructose syrup นำตาลเทียม นมข้น ของทอด อาหารซองสำเร็จ น้ำมันผ่านกรรมวิธี

คนที่ทำ IF ได้ ก็เป็นเพราะรู้สึกว่าเขาไม่รู้สึกหิว เราต้องระมัดระวังให้ดี ในระหว่างมื้อที่เราทาน ต้องเลือกทานอาหารที่ทำให้ไม่รู้สึกหิว ถ้าเราไปเลือกทานอะไรที่ทำให้รู้สึกหิวแสดงว่าอาหารมื้อนั้นไม่ดีให้เลี่ยง

การอดในช่วง Palliative care

ช่วง palliative care มันเป็นช่วงที่ร่างกายพยายามที่จะ shut down ตัวเอง ดังนั้นผู้ดูแลอย่าฝืนที่จะให้อาหาร เพราะว่าร่างกายไม่ต้องการจะรับแล้ว

https://www.facebook.com/mottoooo 


Slides:





Video

Comments

Popular posts from this blog

Useful links (updated: 2024-08-31)

Note: A Road to Real World Impact (new MU-President and Team) - update 12 Sep 2024

Odd ratio - อัตราส่วนของความต่าง