Note from news: New Peptide Helps Cancer Drugs Break Into Tumors

 ~10 years now

--

Note from news: New Peptide Helps Cancer Drugs Break Into Tumors


ลักษณะของเส้นเลือดบริเวณก้อนมะเร็ง ที่ทำให้ยาไม่สามารถเข้าถึงได้

  1. เส้นเลือดบริเวณนั้นไม่ยอมให้ยาผ่านไปได้ง่าย ๆ

  2. มีแรงดันภายในกระแสเลือดค่อนข้างสูง (high hydrostatic pressure) ในบริเวณก้อนของ tumor 

(เดาว่าน่าจะใช้เทคนิคทางด้านรังสีในการแทรคตัวยา และวัดความเร็วของการไหลของกระแสเลือด หรือไม่ก็ใช้ fluorescence dye ในการ track กระบวนการดั่งกล่าว และ visualize โดยการดูผ่านกล้อง fluorescence)


ในงานนี้เขาค้นพบกว่า เมื่อ attach small molecule อย่าง iRGD เข้ากับตัวยามะเร็ง -- ช่วยให้ยาสามารถซึมเข้าไปในก้อนมะเร็งได้


เขาทำการทดลองในหนู โดยทำการฉีด iRGD ไปพร้อมกันกับยาฆ่ามะเร็ง ซึ่งทำให้ตัวยานั้นสามารถทะลุผ่านหลอดเลือดเข้าไปยัง tissue ของ tumor ได้มากถึง 7-40 เท่า เมื่อเทียบกับ control ที่ไม่ได้ฉีด iRGD ไปพร้อมกับยา -- โดยการทำลองนี้ ทำกับหนูที่เรานำเอาก้อนมะเร็งของคนไปปลูกถ่ายบนผิวหนังของตัวหนู ซึ่งทั้งหมด เป็น solid tumor (breast, pancreatic, and prostate)


โดยคณะผู้ทำวิจัยคิดว่า iRGD มันไปจับกับตัวรับ (receptor) บริเวณเส้นเลือดของก้อนมะเร็ง evade ผ่านเข้าไปในก้อนมะเร็ง และไปจับกับเซลล์มะเร็งต่อ สาเหตุที่มัน specific ต่อก้อนมะเร็ง และเส้นเลือดบริเวณดังกล่าว เป็นเพราะเขารู้ว่าบริเวณเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงก้อนมะเร็งนั้นจะมีปริมาณของโปรตีน av-integrins (transmembrane protein) ค่อนข้างเยอะ และ iRGD มันมีความจำเพาะกับโปรตีนตัวนี้ 


หลังจากที่ iRGD จับกับ integins มันจะไป induce ให้ iRGD ถูกย่อย และกลายไปเป็น product ที่สามารถจับได้กับ neuropilin-1 (transmembrane protein) โปรตีนตัวนี้ก็เป็นโปรตีนที่พบมากในเซลล์มะเร็ง และยังมีส่วนช่วยให้ ตวยาสามารถซึมผ่านเข้าไปในก้อนมะเร็งได้ เนื่องมาจากการจับกันระหว่าง iRGD กับ neurophilin บนเซลล์มะเร็ง


แต่ก็มีจุดที่เขา concern เหมือนกัน เพราะเขากลัวว่าจะเพิ่มอัตราการเกิด metastasis เพราะการฉีด iRGD มันจะส่งผลต่อการเปิดตัวของเส้นเลือด


Original paper: Coadministration of a Tumor-Penetrating Peptide Enhances the Efficacy of Cancer Drugs


Comments

Popular posts from this blog

Useful links (updated: 2024-05-05)

SUSA Thailand - Sustainable University? (update 2023-06-23)

Genome editing technology short note