Walking through 25th year with TRF at Siam Paragon Hall

งานดังกล่าวได้จัดขึ้นภายในสองวัน คือ 25-26 สิงหาคม 2560 ถือได้ว่าเป็นการจัดงานได้ดีมาก และมีความประทับใจในการจัดงานดังกล่าว

ในงานก็จะมีปลุ่มนักวิจัยที่ได้ทุน และมีผลผลิตที่สามารถนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้มาตั้งแสดง พร้อมทั้งยืนประจำจุดเพื่อที่จำนำเสนอผลงานอันเป็นที่น่าสนใจแก่ประชาชนคนทั่งไปที่เดินเข้ามาแวะเยี่ยมชมภายในงาน เท่าที่สังเกตงานที่ได้ทุนจาก สกว. (สำนักงานกองทุนสนับสนันการวิจัย) มีค่อนข้างหลากหลาย มีตั้งแต่งานทางด้านชีวภาพ ทางด้านการแพทย์ และการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ชีวภาพพื้นฐานเพื่อนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ กลุ่มงานทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ งานในกลุ่มพัฒนาอาชีพที่เป็นลักษณะของหมู่บ้านหรือชุมชน รวมไปถึงงานทางด้านการแก้ปัญหของชุมชนทางด้านการเกษตร เหล่านี้เป็นต้น

งานที่เป็นไฮไลต์สำหรับตัวเอง คือ การเสนอผลงานทางวิทยาศาสตร์ภายใน 3 นาที โดยผู้นำเสนอทั้ง 6 คนที่ได้ผ่านการคัดเลือกมาก่อนหน้านั้แล้วส่วนหนึ่ง และทุกคนต่างแสดงฝีไม้ลายมือได้ดีมาก โดยส่วนตัวประทับใจในความเก่งของเยาวชนอายุ 19 ปี เป็นนักศึกษาทางด้านวิศวกรรมวัสดุ และมีจุดหมายปลายทางทางด้านการทำธุรกิจอย่างชัดเจนมาก และมีความสามารถในการนำเสนอได้อย่างมีความโดนเด่นมาก

ภาพข้างล่างเป็นภาพบรรยากาศโดยรวมของงาน และมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เก็บมาบอกเล่าเก้าสิบ (เพื่อเตือนความจำของตัวเองด้วย)

บรรยากาศประตูทางเข้างาน ณ สยามพารากอนฮอลล์


บรรยากาศโดยรอบ ๆ ของงาน ซึ่งจะมีบูตต่าง ๆ มาตั้งแสดงผลงานของตนเอง เท่าที่สังเกต มีลักษณะค่อนข้างหลากหลาย มีตั้งแต่งานวิจัยของกลุ่มนักวิจัยพื้นบ้าน รวมไปถึงกลุ่มนักวิจัยที่มาจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จะเห็นได้ว่า TRF มีการให้ทุนที่หลากหลายสาขาพอสมควร


































บทความตีพิมพ์ทางวิชาการในวารสารระดับนานาชาติเพื่อนำมาสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์




















งานวิจัยถึงความหลากหลายของหอยทากที่ถูกค้นพบในประเทศไทย และความสามารถในการนำเอามาประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์





















เอกสารประกอบการแสดงถึงสปีชีส์ของหอยทากที่ถูกค้นพบในประเทศไทย และการแบ่งแยกประเภทของหอยทากออกเป็นชนิดต่าง ๆ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มนักวิจัยหลาย ๆ สถาบัน




















การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง และมีหลายขา












กลุ่มนักวิจัยกำลังอธิบายถึงข้อดีของซีรั่มที่สกัดได้จากเมือกของหอยทาก ซึ่งสามารนำมาใช้ในการบำรุงผิวหน้า โดยตกขวดละ 1000 บาท




















งานวิจัยการนำพลาสติกชีวภาพเพื่อมาใช้ทดแทนถงพลาสติกทางด้านการเกษตร




















งานวิจัยกลุ่มพลาสติกชีวภาพ ที่สามารถย่อยสลายได้โดยกลไกของจุลชีพในธรรมชาติ และกระบวนการย่อยสลายดังกล่าวยังถูกนำมาทดสอบในเรื่องการถูกนำมาเปลี่ยนให้เป็นแร่ธาตุอาหารแก่พืช ซึ่งตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงทดสอบอยู่












งานชิ้นนี้แสดงถึงกระบวนการเร่งการย่อยสลายสูตรต่างต่าง ๆ โดยอาศัยการทำงานของจุลชีพที่อยู่ในมูลของสัตว์เป็นหลัก












กลุ่มนี้จะเน้นเรื่องการผลิตเซนเซอร์เพื่อตรวจวัดในงานภาคสนามต่าง ๆ แต่ไม่ได้เน้นการพัฒนาทางด้านวัสดุ เน้นเรื่องการนำเซนเซอร์ที่มีอยู่ในท้องตลาดมาประยุกต์ใช้ และนำมาประกอบเป็นอุปกรณ์ที่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติงานได้จริง




















งานวิจัยทางด้านเซนเซอร์ เทคโนโลยี สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับโจทย์ของลูกค้าว่าต้องการตรวจจับอะไร และตัวเซนเซอร์ดั่งกล่าวนั้นสามารถค้นหาได้ในท้องตลาดเพื่อนำมาประกอบได้หรือไม่




















งานวิจัยของกลุ่ม อ.ดร.สายสมร ณ ลำยอง ซึ่งศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของเห็นในภาคเหนือ เห็ดดั่งกล่าวถูกเก็บมาจากดอยสุเทพ จังหวัด เชียงใหม่ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะนำเห็ดที่หาได้ในป่า และมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ มาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ เพราะสิ่งมีชีวิตดั่งกล่าว เท่าที่สอบถามนักวิจัยประจำบูธ เขากล่าวว่า เห็ดเป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยแร่ธาตุจากรากของต้นไม้ การเตรียมสูตรอาหารที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญภายในห้องปฏิบัติการนั้นค่อนข้างทำได้ยาก












งานประยุกต์ใช้ของกลุ่มจุลชีพย่อยสลาย












การประยุกต์ใช้ในด้านการต้านจุลชีพที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางการเกษตร โดยอาศัยสารเมตอบอไลต์ที่ผลิตได้จากกลุ่มจุลชีพย่อยสลาย




















งานวิจัยในเชิงประยุกต์ของกลุ่มจุลชีพย่อยสลาย (endophyte) ซึ่งสามารถนำเอาสารเมตาบอไลต์มาผลิตเป็นสีย้อมได้












งานวิจัยของ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ซึ่งพัฒนา electro-chemical sufaced platform sensor เพื่อนำไปตรวจวัดระดับการเป็นเบาหวานของคนป่วย มีความสะดวกต่อการใช้งาน และลดการนำเข้า



งานวิจัยที่เอาโมเดลทางด้านคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสกรีนหาย้าต้านเชื้อวัณโรค ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นโรคของคนจน และเป็นปัญหาใหญ่ในเมืองไทย





















งานวิจัยที่อาศัยการเกิดปฏิกริยาทางเคมีโดยตรวจจับการเกิดออกซิเจน เนื่องจากออกซิเจนมีผลต่อกระบวนการการเก็บอาหาร นวัตกรรมตัวนี้จะอาศัยการเปลี่ยนแปลงของสีซึ่งอยู่ในรูปของสติ๊กเกอร์ที่่ติดอยู่ในแพคเกจของอาหาร





















ตัวอย่างการติดสติ๊กเกอร์ลงในห่อบรรจุอาหาร ซึ่งสติ๊กเกอร์ดังกล่าวได้มีการทดสอบแล้วว่ามีความปลอดภัยในการนำไปใช้บรรจุกับภาชนะบรรจุอาหาร




















กลุ่มงานวิจัยทางด้านการพัฒนาสายพันธ์ของหมู และวัว เพื่อนำมาผลิตเป็นเนื้อที่มีคุณภาพ และเป็นที่ต้องการของตลาด












กลุ่มงานวิจัยของ อ.ดร.วันเพ็ญ ชัยคำภา ซึ่งผลิต antibody phase display library ที่สามารถออกฤทธิ์ในการยับยั้งต่อ HCV ซึ่งยาต่อ HCV ค่อนข้างแพง




















กลุ่มงานวิจัยทางด้านการเกษตร การหาตลาดเพื่อช่วยชุมชนในการเอาสินค้ามาขาย





















ต่อไปจะเป็นการ pitching for 3 mins (ผู้ชนะจะได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท) โดยจะแบ่งเป็น 2 รอบ รอบแรกนำเสนอคนละ 3 นาที หลังจากนั้นจะถูกคัดเลือกให้เหลือเพียงแค่ 3 คนเท่านั้น และแต่ละคนจะมีโอกาสในการนำเสนออีกคนละ 5 นาที โดยมีคณะกรรมการที่นอกเหนือจะเต็มเปี่ยมไปด้วยความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์แล้วนั้น ยังเต็มไปด้วยประสบการณ์ทางด้านการนำนวัตกรรมออกสู่ท้องตลาด และการมองเกมส์ทางด้านการธุรกิจที่จะส่งผลต่อการเสนอขายได้หรือไม่ได้ของนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ เป็นงานที่สนุกมาก และมีโอกาสได้เรียนรู้เยอะ โดยเฉพาะน้องเยาวชนที่ผลิตอุปกรณ์ทางด้านการแพทย์เพื่อทำการห้ามเลือดระหว่างการผ่าตัด ข้างล่างจะเป็นบรรยากศในงานของการนำเสนอทั้ง 6 ท่าน

งานวิจัยของอาารย์ท่านนี้กล่าวถึงวัสดุห่อหุ้มอาหารที่รักษาความสดได้มากกว่าเดิม
















งานวิจัยของน้องนักศึกษาท่านนี้กล่่าวถึงนวัตกรรม coil embolism แบบใหม่ที่ช่วยในการหยุดเลือด เก่งมาก อายุเพียงแค่ 19 ปี แต่มีบิสเนสโมเดลได้ชัดเจนมากเหมือนคนมีประสบการณ์มาเยอะ
















งานวิจัยของอาจารย์ท่านนี้เกี่ยวกับการผลิตชุดตรวจสอบการติดเชื้อพาราสิตของสัตว์เขี้ยวเอื้องได้อย่างรวดเร็ว อาจารย์ท่านนี้จะมีมุข เล็ก ๆ น้อย ๆ ระหว่างการนำเสนอ อันเนื่องมาจากการตอบโจทย์ของลูกค้า
















งานวิจัยของอาจารย์ท่านนี้คือการพัฒนาแอพลิเคชั่นเพื่อตรวจจับจุดที่มีการเผาไหม้ที่เกิดขึนในจังหวัดเชียงราย อันเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาหมอกควันที่ส่งผลต่อภูมิทัศน์ของเมือง รวมไปถึงสุขภาพ
















อาจารย์ท่านนี้พัฒนาถังปฏิกรณ์เพื่อเปลี่ยนพลังไบโอดีเซลให้นำมาใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้น
















อาจารย์ท่านนี้นำเสนอถึงการพัฒนาวัสดุนาโนในการตรวจดีเทคโมเลกุลที่อยู่ในรูปของแก็ส
















การเปิดโอกาสให้มี popular vote สำหรับการนำเสนอผลงานของแต่ละท่าน




















Update: เป็นอาจารย์จากมหิดลที่ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานในครั้งนี้ไป อาจารย์พรีเซนต์ได้ดีเช่นด้วยกัน และมีมุขตลกเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการนำเสนออีกด้วย

Comments

Popular posts from this blog

Useful links (updated: 2024-04-26)

Genome editing technology short note

SUSA Thailand - Sustainable University? (update 2023-06-23)