Note for: ยุทธศาสตร์การรักษามะเร็งแห่งชาติ

รวบรวม และสรุปในแบบฉบับของตัวเอง จากการอ่านหนังสือแผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ. 2556-2560) และข้อมูลจากรายงานของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ และศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลรามาธิบดี

จากสถิติโลก ชนิดของมะเร็งที่พบเจอมากที่สุด ตามตารางข้างล่าง
การตรวจเจอ (มากไปน้อย)
การเสียชีวิต (มากไปน้อย)
มะเร็งปอด
มะเร็งปอด
มะเร็งเต้านม
มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งตับ
มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งเต้านม

รายงานจากหน่วยทะเบียนมะเร็งที่มีอยู่ในประเทศไทย ชนิดมะเร็งที่ตรวจพบเจอภายในช่วง 2004-2006 ตามตารางข้างล่าง
ชาย (มากไปน้อย)
หญิง (มากไปน้อย)
มะเร็งตับ
มะเร็งเต้านม
มะเร็งปอด
มะเร็งตับ
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งปอด
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งลำไส้ใหญ่

จากข้อมูลรายงานในปี 2554 แบ่งผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งดังต่อไปนี้ ตามตารางข้างล่าง และที่ทาสีไว้ในตารางแสดงถึงชนิดของมะเร็งที่มีการเสียชีวิตมากที่สุด
ชาย
หญิง
มะเร็งตับ
มะเร็งตับ
มะเร็งปอด
มะเร็งปอด
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งเต้านม
มะเร็งช่องปากและคอหอย
มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งลำไส้ใหญ่

ตารางข้างล่างจะเป็นตารางที่แสดงถึง จำนวนผู้ป่วยมะเร็งใหม่ซึ่งนำมาจากรายงานของทะเบียนมะเร็ง ปี 2015 (2558)

ข้อมูลจากศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลรามาธิบดี (2016) ตามตาราง 3 ตาราง ที่แสดงข้างล่าง



แบ่งเป็นยุทธศาสตร์หลาย ๆ ด้าน

1. ด้านการใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาจัดการกับข้อมูลคนป่วย (cancer informatics) ซึ่งจะทำให้เรียนรู้ถึงเรื่องการระบาดของโรคมะเร็ง ข้อมูลทางด้านสถิติ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง

2. ด้านการป้องกันปัจจัยที่น่าจะเกี่ยวข้องกับสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็ง (primary prevention) ยกตัวอย่างเช่น (ตารางข้างล่างเป็นตารางที่หนังสือได้ทำการสรุปถึงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง)

a.   การรับประทานของปลาดิบ มีความเสี่ยงจากการติดพยาธิ และทำให้เกิด มะเร็งท่อน้ำดี อันเนื่องมาจากการติดเชื้อ
b.   การสูบบุหรี่ มีความเสี่ยง ที่จะทำให้เกิดมะเร็งปอด หรือมะเร็งในช่องปาก

 
3. การตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรก (secondary prevention – early detection; cancer screening or early diagnosis) จะช่วยให้ลดอัตราการเสียชีวิตได้มากขึ้น รวมไปถึงเพิ่มอัตราการรักษาให้หายขาดได้ ถ้ามีความสามารถในการตรวจพบเจอเบื้องต้น การตรวจเบื้องต้น สามารถแบ่งได้เป้นสองระดับ คือ

a.   organized screening เข้าใจว่าทำเป็นนโยบายระดับชาติ เพื่อค้นหาในประชากรกลุ่มเป้าหมาย และในความเห็นส่วนตัวเข้าใจว่าน่าจะเป็นกลุ่มที่มี prevalence ค่อนข้างสูง และอัตราการรักษาให้หายขาดค่อนข้างต่ำ และมีความคุ้มค่าที่จะทำการลงทุนในเรื่องของการตรวจพบเบื้องต้น matrix ข้างล่าง แสดงถึงการแบ่งกลุ่มตาม mortality rate (อัตรการเสียชีวิต) และ prevalence (ความชุกของโรค)

1 --
High prevalence
High mortality rate
Worth to invest on early detection – like breast cancer
2 –
Low prevalence
High mortality rate
Worth to invest?? – regional cancer
3 –
High prevalence
Low mortality rate
Worth to invest??
4 –
Low prevalence
Low mortality rate
Leave it there?

จากหนังสือได้กล่าวไว้ว่า การตรวจหาแบบนี้สามารถทำได้กับ cervical cancer (เช่น การตรวจ pap-smear in certain women age) breast cancer (การทำพวก mammogram ซึ่งก็สามารถ screen และป้องกันได้)

b.     opportunistic screening – เข้าใจว่าเป็นการตรวจหา upon the request คือ ตามคำร้องขอทั้งจากคนที่มารับบริการทางการแพทย์ หรือแม้กระทั่งผู้ให้บริการทางด้านการแพทย์เอง

    4. การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง (Tertiary Prevention – Treatment)

ประสิทธิภาพของการรักษานั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง
  • การตรวจพบเจอในระยะเบื้องต้น จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิต และจะเพิ่มอัตราการรักษาให้หายขาดได้
  • การวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และแม่นยำจะทำให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมาขึ้น ซึ่งก็ต้องอาศัยเครื่องมือที่ดี เพื่อเข้าถึงพยาธิสภาพ และนำชิ้นเนื้อไปตรวจ
  • การวินิจฉัยระยะของโรค (stage) ก็ถือว่ามีความสำคัญต่อการรักษา เพราะแต่ละขั้นของการเกิดมะเร็งจะมีการรักษาที่แตกต่างกันไป ซึ่งจะส่งผลต่อการพยากรณ์โรค
  •  ในรายงานยังบ่งบอกถึงข้อด้อยบางอย่างที่ทำให้โรงพยาบาลในบางที่นั้น ไม่สามารถรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยดังกล่าว ได้แก่
    • การรักษายังคงมีราคาที่สูง เนื่องจาก
      • ยาเคมีบำบัด
      • ยารักษาอาการค้างเขียงที่เกิดจากยาเคมีบำบัด
      • เครื่องมือที่ใช้ในทางศัลยกรรมและรังสีรักษา
                ทั้งหมดโดยส่วนใหญ่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ

5. การรักษาแบบประคับประคอง (palliative care) เป็นการดูแลกลุ่มผู้ป่วยที่โดยส่วนใหญ่แล้วอยู่ในระยะลุกลาม และยากต่อการรักษาให้หายขาด โดยการรักษาดังกล่าวจะเน้นเรื่องทางด้านจิตใจ เพื่อให้ผู้ป่วยเหล่านั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

6. การทำงานวิจัยเพื่อควบคุม และป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง (cancer control research) เป็นการทำการศึกษาวิจัย เพื่อลดอัตราการตาย และการสูญเสียที่เกิดจากโรคมะเร็ง นอกเหนือไปจากนั้นเพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยรวมไปถึงครอบครัวด้วย มีการแนะนำจากองค์การอนามัยโรคด้วยว่า

a.   สำหรับกำลังพัฒนา งานวิจัยที่ควรพุ่งเป้า คือ การประเมินความสำเร็จ (เข้าใจว่าน่าจะเป็น clinical trial ประมาณ phase 2 ขึ้นไป) และความคุ้มค่าของแผนการป้องกัน และควบคุมโรคมะเร็งที่พบบ่อยของประเทศ (น่าจะมาจากการให้ความรู้ และการรณรงค์ออกสื่อถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง หรือทำการประชาสัมพันธ์ถึงการคัดกรองเบื้องต้น เมื่อมีอายุมากขึ้น – เป็นอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง) – มะเร็งที่เขากล่าวถึง และพบบ่อยมากที่สุดในประเทศไทย คือ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่

b.   สำหรับประเทศไทย มีการลิสต์ถึงปัญหาต่าง ๆ ของการวิจัย
  • ขาดการมีส่วนร่วมในการดำเนนินงานแบบบูรณาการ (เป็นการทำงานแบบแยกส่วน ไม่มีการเชื่อมโยงถึงกัน)
  • ขาดแหล่งทุนในการสนับสนุนการวิจัย
  • ขาดแคลนเครื่องมือ และอุปกรณ์ในการทำงานวิจัย (น่าจะเป็นในบางที่ และนอกเหนือไปจากนี้แล้วนั้น บางที่ก็เข้าถึงยากด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง)
  • การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไม่คุ้มค่า เช่น การซื้อเครื่องมือราคาแพงมาโดยที่ไม่มีโปรเจครองรับ
  • ขาดฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับนักวิจัยที่ทำงานทางด้านมะเร็ง และรวมไปถึงงานวิจัยทางด้านมะเร็งที่ทำภายในประเทศ
7. ยุทธศาสตร์สุดท้ายเป็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ซึ่งเป็นการสนับสนุนในระดับองค์กรเพื่อส่งเสริมการป้องกัน และควบคุมโรคมะเร็ง (capacity building) เป็นการพัฒนางานทางด้านทรัพยากรบุคคลเพื่อให้การทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ตามยุทธศาสตร์ที่ได้ตั้งไว้ 

Comments

Popular posts from this blog

Useful links (updated: 2024-10-23)

Odd ratio - อัตราส่วนของความต่าง

Note: A Road to Real World Impact (new MU-President and Team) - update 12 Sep 2024