Research Ethic (note from MU talk)
ผลงานทางวิชาการโดยท้ายสุดสามารถนำไปประกอบการขอกำหนดตำแหน่งวิชาการได้ เพื่อแสดงถึงศักยภาพของนักวิจัย
แต่กระบวนการก่อนการตีพิมพ์นั้นมีเรื่องระเบียบต่าง ๆ มากมายเป็นหน้าที่ของนักวิจัยที่ต้องทำการศึกษาควบคู่กันไปด้วยเพื่อ double check ความถูกต้องกับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง
ก่อนการตีพิมพ์มีเช็คลิสต์หลายประการ
ดูก่อนว่าแหล่งให้ทุนมีระเบียบอะไรบ้าง
ลงใน ranking ไหน ต้องปิดทุนเมื่อไหร่ ในตัวสัญญา
กฎระเบียบในระดับมหาวิทยาลัย
เช่น เรื่อง ethics ต่าง ๆ หรือมาตเ้รฐานการทำงานวิจัย
การซับมิต ethic ถ้าให้เป็น practice ที่ดีควรจะมีชื่อทุกคนอยู่ในใบรับรองด้วย ถึงแม้ไม่ได้ทำกับคนหรือสัตว์ แต่การมีชื่อเหมือนกับเป็นการรับรู้ว่าโครงการนี้ทำอะไรบ้าง
การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ก็ต้องศึกษาเรื่อง พรบ. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ว่ามีระเบียบเป็นยังไงบ้าง
Contribution ของคนในทีม
ดูว่าแต่ละคนทำอะไนบ้างในทีม และมีบทบาทมากพอที่จะลิสต์ในเปเปอร์หรือเปล่า และในบทบาทของอะไร
กระบวนการทำวิจัย ก็ใหเป็นไปตามมาตรฐานงานวิจัย
เพราะความเร่งรีบของความต้องการตีพิมพ์งานทางวิชาการ ก็เลยเกิดมี predatory journal เพื่อมาหลอกลวงและปิดแก็ปความเร่งรีบตรงนี้ ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน
เลือกเจอร์นอลยังไง- อ่านเจอร์นอลนั้นก่อนว่ามีลักษณะอย่างไร ประเมินเบื้องต้นว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่ สามารถติดต่อได้หรือเปล่า ดูประวัติในการแสดงผลงาน
- ลองไปดู instruction for author ว่าเป็นยังไงบ้าง กระบวนการรีวิวของเขาเป็นไงบ้าง และขั้นตอนการรีวิวเป็นอย่างไรบ้าง สโคปของการตีพิมพ์เป็นไง และค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ -- ข้อสังเกต ถ้าวารสารนั้น ๆ มีการเรียกเก็บเงินก่อน มีโอกาสเป็นไปได้ว่าน่าจะเป็น predatory
- สามารถติดต่อกับเจอร์นอลโดยตรงได้
Corresponding author -- โดยส่วนใหญ่เป็นหัวหน้าโครงการ และสามารถสื่อสารกับทางจอร์นอลได้
รู้ภาพรวม และรู้กว้าง
เป็น point of contact ได้ในระยะเวลานาน
ก็ให้เช็คในหลาย ๆ แหล่ง เพื่อยืนยันซึ่งกันและกัน ณ ตอนนี้ การตีพิมพ์ในเจอร์นอลเครือ MDPI ในบางเจอร์นอลยังคงตีพิมพ์ได้อยู่
สังเกตคร่าว ๆ ว่าเจอร์นอลนั้น
มีจำนวนการตีพิมพ์เยอะมาก
รีเจคน้อยลง
กระบวนการรีวิวน้อยมาก
ขาดความเป็นวิชาการ
จริยธรรมจาก อ.นพ.กิตติศักดิ์ กุลวิชิต
ให้พิจารณาเหตุผลเป็นหลัก
สิ่งสำคัญที่สุด คือ transparency และการบอกทุกอย่างในกระบวนการก่อนการตีพิมพ์ เช่น การเอางานในวิทยานิพนธ์มาตีพิมพ์ ก็ต้องแจ้งด้วยว่างานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ หรืองานบางอย่างที่พรีเซนต์ในงานประชุม ก็ต้องแจ้งทางเจอร์นอลก่อนส่ง เพราะบางเจอร์นอลก็ไม่ prefer ที่จะตีพิมพ์ผลงานจากวิทยานิพนธ์ เพราะว่ามันซ้ำซ้อน
ขึ้นอยู่กับมโนสำนึก -- อ.เน้นเรื่อง transparency
ให้เก็บ original data ไว้ และบันทึกไว้ว่าเราทำอะไรไปบ้างในการ modify นั้น ๆ เพราะถ้าใครลบข้อมูล original ไป -- likely ที่จะ falsify
การแบ่งงานตีพิมพ์จากเซตข้อมูลเดียวกัน
ต้องถามตัวเองว่า งานดังกล่าวสามารถทำเป็นเปเปอร์เดียวกันได้ไหม
สุดท้ายก็ต้อง clarify ก่อนการตีพิมพ์ว่า เราทำงานกับชุดข้อมูลและกำลังตีพิมพ์อยู่ หรืออาจจะบอกว่าตีพิมพ์ไปแล้วก่อนหน้า
Comments
Post a Comment