Note: สู้กับคอร์รัปชัน เรื่องเพ้อเจ้อที่ต้องเริ่มจริงจังเสียที - บรรยง พงษ์พานิช

ความเชื่อเรื่องเกี่ยวกับคอรัปชั่น

  • คอรัปชั่นสร้างความเจริญได้

    • มีการสำรวจโดยเฉพาะจากเยาวชนเราก็พบผลที่น่าตกใจว่าเยาวชน 2 ใน 3 ยอมรับได้ถ้าคอรัปชั่นนั้นสร้างประโยชน์

  • ถ้าไม่จ่ายดำรงชีวิตไม่ได้ประกอบธุรกิจไม่ได้

    • สำรวจกับภาคเอกชนบ้างก็พบว่ามีประชาชนกว่าร้อยละ 70 ยอมรับว่าตัวเองเคยจ่ายและมากกว่าร้อยละ 80 ของผู้ที่เคยจ่ายก็บอกว่ามันเป็นความจำเป็นมันคุ้มค่ามันได้ผลตามที่ตัวเองต้องการ

  • เราเชื่อว่าข้าราชการจะชอบโกงเพียงเพื่อเลี้ยงตัวเอง พวกเราก็มักจะเห็นใจว่ารายได้ของข้าราชการไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ


ในโลกปัจจุบันไม่มีประเทศใดเลยที่ก้าวพ้นกับดักการพัฒนาไปได้โดยที่มีภาพลักษณ์คอร์รัปชันต่ำกว่า 5.0

ปัจจุบันเรามีดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันอยู่ที่ 3.6 ซึ่งคงจะต้องใช้เวลาอีกมาก


ประเภทของการคอรัปชั่น 

  1. คอรัปชั่นในภาคเอกชน

    1. นายจ้าง-ลูกจ้าง

    2. เอกชน-มหาชนวงกว้าง

      • รัฐอาจจะต้องให้ความช่วยเหลือ

  2. การที่ผู้มีอำนาจรัฐใช้อำนาจนั้นฉ้อฉลคดโกงเอาทรัพย์สินและทรัพยากรของรัฐเป็นของส่วนตนโดยตรง

    1. ตั้งแต่การที่ผู้นำเหตุการณ์ในตอนต้นศตวรรษได้ยักยอกเอาเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศเข้าเป็นทรัพย์สินส่วนตัว

    2. การโกงภาษีมูลค่าเพิ่มโดยความร่วมมือของข้าราชการกรมศุลกากรและกรมสรรพากรเป็นเงินมากกว่า 5 พันล้านอันนี้ถือเป็นการคดโกงเอาจากทรัพย์สินของรัฐ

  3. ภาคเอกชนผู้จ่ายกับผู้อำนาจรัฐผู้รับก็คือการที่ฝ่ายเอกชนจ่ายเงินให้กับผู้มีอำนาจเพื่อได้ประโยชน์อันมิชอบ แยกออกเป็น 3 ประเภท

    1. การซื้อความได้เปรียบในการแข่งขัน

      • ประเภทนี้ก็คือ การที่ภาคเอกชนพยายามที่จะได้กำไรส่วนเกิน ที่เกิดจากการไม่ต้องแข่งขันขึ้นในระบบทุนนิยม

      • การแข่งขันถึงเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพทำให้เกิดความโปร่งใส

      • เมื่อมีกลไกที่เอกชน สามารถที่จะไปจัดการแข่งขันได้ ก็ย่อมทำให้เขาได้กำไรส่วนเกินและกำไรส่วนเกินนั้นแหละไปแบ่งให้กับผู้มีอำนาจ แล้วก็ส่วนหนึ่งก็เก็บไว้เป็นกำไรส่วนเกินของตนเอง

      • ในกลุ่มนี้ถึงแม้จะมีปริมาณของรายการไม่มากแต่เป็นคอรัปชั่นที่สร้างความเสียหายให้กับระบบเศรษฐกิจมากที่สุด

      • เช่น เรื่องของการล็อคสเปคทุกประเภท

    2. การซื้อขายความสะดวก

      • ปกติภาครัฐมีหน้าที่ที่จะต้องให้บริการแก่ประชาชน

      • ในการบริการนั้นเขาก็มาออกแบบเงื่อนไขออกแบบรายละเอียดออกแบบการใช้ดุลพินิจให้มันมากเข้าไว้ก็ทำให้เป็นความไม่สะดวกที่เอกชนจะต้องซื้อหา

      • ด้แก่การขอใบอนุญาตต่าง ๆ การที่จะเข้ารับบริการต่าง ๆ

      • เอกชนจำเป็นที่จะต้องจ่ายเงินประชาชนจำเป็นต้องจ่ายเงินถ้าไม่งั้นก็ไม่ได้บริการตามที่สมควรได้ที่เราเรียกกันว่าค่าน้ำร้อนน้ำชา

    3. การซื้อหาความผิด

      • ซื้อความผิดให้เป็นความไม่ผิด

      • การบิดเบือนไปทั่วมีการซื้อหาทำให้ได้เปรียบแม้จะเป็นเรื่องคดีความในทางแพ่งและทางอาญา


นวัตกรรมการคอรัปชั่น

  • กลยุทธ์ได้กระจุกเสียหลายๆ

    • คือ ทำยังไงที่จะให้พวกกูเนี่ยได้ทรัพย์สินโดยกระจายความเสียหายไปให้กับประชาชนทั้งประเทศที่กว้างที่สุดทุกคนจะได้รับรู้ รู้สึกน้อยที่สุด

  • กลยุทธ์ที่บอกว่าได้วันนี้เสียวันหน้า

    • คือ สิ่งที่เราโกงวันนี้ทำยังไงให้ผู้จ่ายเนี่ยไปจ่ายอนาคต เขาจะได้ไม่รู้สึก ยังไม่รู้ว่าใครเป็นคนจ่ายกันแน่ ผลักภาระไปให้กับอนาคตให้มากที่สุด

  • การพัฒนาระบบในการโกงกิน ให้มันเป็นระบบที่มั่นคงถาวร ไม่สามารถที่จะมีใครที่อยู่นอกระบบ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่าง ๆ เหล่านั้นได้


โทษของคอรัปชั่น

  • มันทำให้นโยบายการคลังไม่มีประสิทธิภาพ

    • มันคือการโยกย้ายทรัพยากรจากภาคส่วนที่มั่งคั่งไปสู่ภาคส่วนที่ยังขาดแคลนจากอนาคตมาใช้ในปัจจุบัน

    • โดยหวังที่จะสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้คนในอนาคต

    • มีคอรัปชั่นมาเป็นแรงจูงใจการใช้นโยบายการคลังทั้งหลายถูกบิดเบือน

  • คอรัปชั่นมักจะเกิดอยู่ในหน่วยงานภาครัฐ

    • รัฐ/รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ที่ให้บริการพื้นฐานกับประชาชน

    • เป็นผู้ที่สร้างสินค้าพื้นฐานหลายอย่าง

      • ไฟฟ้า ประปา พลังงาน ขนส่ง

    • ถ้ามีคอรัปชั่น เกิด 3 สิ่ง

      • ประสิทธิภาพต่ำคุณภาพสินค้าและบริการห่วย

      • ต้นทุนสูง

      • ของไม่พอ

  • การเบี่ยงเบนของทรัพยากรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

    • ทรัพยากรมันไม่เข้าไปสู่ส่วนที่มันควรจะเข้าไป

    • ไม่ได้เข้าไปสู่ส่วนที่ประเทศต้องการที่จะพัฒนาเนื่องจากคอรัปชั่นทำให้เกิดการบิดเบือน

    • ทำให้ภาคเอกชนบางส่วนได้กำไรเกินควร

    • เช่น รถไฟแอร์พอร์ตลิงค์ เป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าอย่างยิ่ง

  • ไม่มีศักยภาพการแข่งขันของภาคเอกชน

    • ประเทศอย่างเราที่ความได้เปรียบเทียบซื้อได้

    • หาได้มันมีความแน่นอนสูง

    • ซื้อหาความได้เปรียบเนี่ยมันแน่นอนกว่าทำนวัตกรรม R & D

    • ตัวอย่าง คำว่าสัจจะวาจาของนักการเมืองไทยในแปลว่าจ่ายครบเราทำให้แน่

    • ทำให้ภาคเอกชนไทยเป็นหนึ่งในสังคมกำลังพัฒนาที่มีงบ R & D ต่ำที่สุด

  • เกิดความเหลื่อมล้ำอย่างมโหฬารในสังคมไทย

    • ประเทศเราคนร้อยละ 20 คนซึ่งประกอบด้วยคน 13 ล้านคนสามารถที่จะสร้างผลผลิตต่อปีมีรายได้มากกว่าคนร้อยละ 20 คือ 13 ล้านคนล่างสุดเนี่ยถึง 13 เท่า

    • เป็นอัตราส่วนที่สูงมากในประเทศที่พัฒนาแล้วอัตราส่วนนี้จะไม่เกิด 5 เท่า

    • เพราะว่ามันเกิดการบิดเบือนของทรัพยากรเกิดการบิดเบือนของผลตอบแทน

  •  สร้างความแตกแยกในสังคม

    • ประโยชน์ของอำนาจรัฐมันหอมหวาน

    • ทำให้ทุกคนใช้ทุกวิถีทางไม่ว่าจะสร้างให้เกิดความแตกแยกในใช้ประโยชน์จากผู้ด้อยโอกาสสร้างให้เกิดความแตกแยกเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจรัฐ


ประโยชน์ระยะสั้นของคอรัปชั่น

  • ถ้ามีการลงทุนถึงแม้การลงทุนนั้นจะมีแรงจูงใจมาจากความไม่ถูก ความไม่สมควร แต่การลงทุนนั้นก็ก่อให้เกิดผลประโยชน์ในระยะสั้นอย่างแน่นอน

    • เช่น เราเกิดวิกฤตและเราก็ไปกู้เงินอนาคตมา รายได้ประชาชาติของประเทศก็เพิ่มขึ้น แต่ไม่เกิดประโยชน์ระยะยาว (เพราะมันไปเข้ากระเป๋าคนใดคนหนึ่งเยอะเกินไป)

  • ประชานิยมนั้น จะดีหรือจะเลวนะครับ มันก็เป็นการกระจายรายได้เข้าสู่คนส่วนใหญ่ของประเทศนะครับ แต่ประชานิยมหลายๆเรื่องก็มีแรงจูงใจที่ถูกออกแบบมา ก็เพราะว่ามันมีการโกงกินได้

    • เช่น เรื่องของการจำนำข้าว

  • ซื้อหาความได้เปรียบได้กับการที่ภาคเอกชนช่วยหาความได้เปรียบได้ เขาก็ลงทุนถึงได้ การลงทุนนั้นจะไม่ได้เป็นประโยชน์ของส่วนรวม เป็นการลงทุนโดยเป็นต้นทุนภาระของสังคมในระยะยาว



ปล. ใช้ API text to speech ในการแปลงจากเสียงมาเป็นตัวอักษร

https://www.google.com/intl/en/chrome/demos/speech.html




Comments

Popular posts from this blog

Useful links (updated: 2024-12-13)

Odd ratio - อัตราส่วนของความต่าง

Note: A Road to Real World Impact (new MU-President and Team) - update 12 Sep 2024