Post-doc and mentor things

บังเอิญว่าเจอบทความป้อนเข้ามาผ่านทางสื่อออนไลน์ก็เลยคลิ๊กเข้าไปอ่านเสียหน่อย (เข้าใจว่าเป็นจังหว่ะครบรอบการเสียชีวิต 1 ปีของ Ben Barres นักวิจัยที่มีความชำนาญในเรื่องกลไกทางระบบประสาท)

สรุปง่าย ๆ คือ

1.หัวหน้าแลบที่รับโพสต์ด็อก เข้าไปทำงาน ควรจะให้โอกาสโพสด็อกคนนั้นนำเอางานที่กำลังทำอยู่ไปต่อยอดได้ ซึ่งผู้เขียนเขาก็เห็นว่ามันเป็นแรงผลักดันให้เกิดนวัตกรรมและการค้นพบใหม่ทางด้านวิทยาศาสตร์

2.ผู้เขียนชี้ประเด็นที่ว่า จริง ๆ แล้ว อาชีพโพสต์ด็อก เป็นอาชีพที่มีรายได้น้อยอยู่แล้ว แต่เมื่อจบการฝึกฝนจากตรงนั้นมาแล้ว เขาเหล่านั้นได้ผลตอบแทนเป็นอะไรบ้าง? และเป็นไปได้ไหมที่โพสต์ด็อกจะเอาโปรเจคที่ผ่านการฝึกนั้นไปทำต่อเมื่อได้มีโอกาสตั้งแลบใหม่? และหัวหน้าแลบที่โพสต์ด็อกไปฝึกด้วยนั้น จะไม่มองว่าเป็นคู่แข่งขัน? ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า เห็นด้วยที่โพสต์ด็อกควรได้รับโอกาสที่จะเอาโปรเจคที่เขาได้ทำมานั้นไปทำต่อในแลบใหม่ และไม่ควรคิดว่าเป็นคู่แข่งขัน เพราะนั่นเป็นสิทธิพื้นฐานต่อความสำเร็จสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่

3.ผู้เขียนเห็นว่าประเด็นดังกล่าวนั้น "touchy" คือ มันเป็นเรื่องค่อนข้างอ่อนไหว แต่ถึงกระนั้นก็ตามผู้เขียนก็ยังอยากจะเขียนเพราะว่าเขาประสบความสำเร็จมากพอละ และกำลังเข้าถึงความตายทุกวันด้วยโรคมะเร็งตับอ่อน....(จริง ๆ แล้วผู้เขียนเคยเล่าประสบการณ์ว่า ที่เขาประสบความสำเร็จทุกวันนี้ได้ เขาได้ที่ปรึกษาที่ดี และเป็นคนทำให้ผู้เขียนรู้สึกชอบในการทำวิจัยอย่างมากจนประสบความสำเร็จ อ่านได้จากบทความนี้)

4.เอาเข้าจริงแล้วผู้เขียนก็ได้แนะนำว่า สำหรับคนที่จะสมัครตำแหน่งโพสต์ด็อกนั้น อย่างน้อย ๆ เขาหรือเธอเหล่านั้นควรจะหาข้อมูลมานิดนึงว่าแนวโน้มของหัวหน้างานเป็นอย่างไรบ้าง เช่น มีโอกาสมากน้อยขนาดไหนที่หลังจากจบการฝึกฝนแล้ว เขาหรือเธอเหล่านั้นสามารถนำงานวิจัยไปต่อยอดต่อในแลบที่อื่น

5.ผู้เขียนก็ได้ยกประเด็นอีกว่าจริง ๆ แล้วหัวหน้าอาจจะรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของของงานวิจัยที่กำลังทำอยู่ และไม่อนุญาตที่จะนำเอางานวิจัยในระหว่างการทำโพสต์ด็อกไปทำต่อ หรือแม้กระทั่งห้ามทำในโครงการวิจัยในขอบเขตเดียวกัน ซึ่งผู้เขียนได้ชี้ประเด็นว่า จริงแล้วโพสต์ด็อกควรจะต้องถามตรงไปตรงมาเลยว่าความคิดเห็นต่อเรื่องเหล่านี้เป็นอย่างไร ซึ่งโดยส่วนใหญ่มันจะไม่ถามกัน และคิดว่ามันไม่น่าจะเป็นปัญหาหลักหลังจากจบการเรียนรู้ไปแล้ว แต่เอาเข้าจริงแล้วกลับเป็นประเด็นที่สำคัญเนื่องจากมีแน้วโน้มสูงที่ว่าหัวหน้าโครงการที่เราเคยเรียนรู้มาด้วยนั้นมองเป็นเป็นคู่แข่ง และไม่ให้การสนับสนุนใด ๆ หลังจากจบไปแล้ว เนื่องจากดันไปทำต่อยอดในงานที่ทำในระหว่างการทำโพสต์ด็อก

6.ผู้เขียนก็ยังได้บอกอีกว่าจุดเริ่มต้นที่ดีก็คือปีสุดท้ายของการทำโพต์ด็อก ควรจะเป็นจังหว่ะที่หัวหน้าโครงการควรจะอนุญาตให้โพสต์ด็อกได้มีโอกาสได้ทำแลบของตัวเองที่สามารถเอาไปต่อยอดเองได้ ซึ่งจะทำให้ได้ผลการทดลองเบื้องต้นจนสามารถที่จะไปขอทุนต่อยอดงานวิจัยในแลบใหม่ของตนเองได้

7.ในขณะเดียวกันผู้เขียนก็ไม่เห็นด้วยเหมือนกันถ้าในปีสุดท้าย เรื่องที่ทำวิจัยที่โพสต์ด็อกคนนัั้นจะนำไปต่อยอดในแลบใหม่ แต่เป็นเรื่องเดียวกันที่แลบเก่าก็ทำเช่นเดียวกัน ซึ่งโอกาสที่จะประสบความสำเร็จจะมีน้อยเนื่องจากการตั้งแลบใหม่จะมีปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่จะทำให้การทำงานวิจัยสำเร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด และเมื่อเปรียบเทียบกับแลบเก่าแล้วนั้น ทุกอย่างมีพร้อมหมดแล้ว ดังนั้นโอกาสที่จะประสบความสำเร็จจะน้อยลงมา

8.ผู้เขียนเห็นว่าหัวหน้าโครงการคนไหนก็ตามที่ไม่อนุญาตให้โพสต์ด็อกนำโปรเจคไปต่อยอด หรือแม้กระทั่งทำแข่งขันกันเอง เป็นเรื่องที่ทำลายวงการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งโดยปกติแล้วเป็นที่รู้ ๆ กันอยู่ในระดับนักวิจัยระดับอาวุโสว่า หัวหน้าโครงการคนใดก็ตามที่ไม่มีความเอื้อเฟื้อต่อโพสต์ด็อก โอกาสที่โพสต์ด็อกจะประสบความสำเร็จในแลบใหม่จะมีต่ำมาก

9.ผู้เขียนก็ได้ยกตัวอย่างเคสของที่ทำงานของตัวเอง ณ ภาควิชาชีววิทยาทางระบบประสาท มหาวิทยาลัยสแตนด์ฟอร์ด ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีธรรมเนียมซึ่งถือปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน ในเรื่องการอนุญาตให้โพสต์ด็อกสามารถนำโปรเจคไปต่อยอดในแลบใหม่ของตัวเองได้โดยไม่ต้องมานั่งแข็งขันกันเอง ซึ่งผู้เขียนก็ได้วิเคราะห์ออกมาเป็นตัวเลขว่า ประมาณ 70% นั้นประสบความสำเร็จในสายวิชาการ

10.ผู้เขียนเขาก็ให้เหตุผลว่าสาเหตุที่หัวหน้าโครงการเก่าไม่ยินยอมนั้นมันก็ด้วยกันหลาย ๆ สาเหตุ ซึ่งก็คือความหึงหวงชื่อเสียง ความรู้สึกไม่มั่นคงทางการงานเมื่อรู้สึกว่าจะมีคนมาทำงานในเรื่องขอบเขตเดียวกัน ซึ่งผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับเรื่องพวกนี้เลย มิหน่ำซ้ำยังเป็นการฉุดรังการทำงานวิจัย (ผู้เขียนใช้คำว่า "sheer gluttony" -- คนไม่รู้จักพอ แปลแย่หน่อยก็ ตะกละตะกลาม)

11.ผู้เขียนมองว่าการอนุญาตให้โพสต์ด็อกเริ่มต้นแลบใหม่จากโปรเจคที่ต่อยอดมาจากแลบเก่า จำทำให้เกิดไอเดียใหม่ ๆ ขึ้นมา ซึ่งมันจะดีต่อวงการการทำงานทางด้านวิทยาศาสตร์ เอาเข้าจริงแล้วผู้เขียนก็รู้สึกแอบจ็บปวดหน่อย ๆ ที่งานดังกล่าวจะถูกนำไปต่อยอดในแลบใหม่ ซึ่งมันจะนำไปสู่อะไรใหม่ ๆ ที่น่าตื่นเต้นเข้าไปอีก เพียงแต่ว่าอยู่ในมือของคนอื่น มากกว่าการอยู่ในมือของตนเอง ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่าความสำเร็จดังกล่าวที่ได้มานั้น อันที่จริงแล้วก็ได้มาจากการต่อยอดจากความรู้เดิมของแลบเก่านั่นเองซึ่งทำมาเป็นระยะเวลาหลายปี และใช้ความพยายามมาอย่างต่อเนื่อง (ผู้เขียน เขียนหยั่งกะเป็นผู้มีอุปการะคุณที่ต้องบอกตัวเองเสมอว่าต้องให้จนกระทั่งรู้สึกว่าชักเร่มทรมานใจตัวเองละ)

12.ผู้เขียนก็ย้ำแล้วย้ำอีกว่า มันเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ สำหรับนศ.ระดับหลังปริญญาที่คิดว่าสักวันหนึ่งจะไปตั้งแลบของตัวเอง หลังจากที่ทำโพต์ด็อก ให้เลือกแล้วเลือกอีกว่าใครควรจะมาเป็นที่ปรึกษางานวิจัยที่ดี

13.ผู้เขียนก็ยกประเด็นที่ว่าคนที่ประสบความสำเร็จทางด้านงานวิทยาศาสตร์หลาย ๆ คนก็เป็นที่ปรึกษาที่ไม่ดี ไม่มีความเอื้อเฟื้อ แต่มีความสามารถเก่งมากในการบริหารงานวิจัยและสมารถหาเงินทุนได้เยอะ (ความรู้สึกเหมือนแลบในเกาหลีใต้ที่โปรเฟสเซอร์บังคับให้นักเรียนหญิงตกไข่เพื่อนำมาศึกษาวิจัย มิฉะนั้นไม่จบ) ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าจริง ๆ แล้วควรจะให้รางวัลแก่ที่ปรึกษาที่มีผลงานในเชิงประจักษ์ในเรื่องการเป็นที่ปรึกษาที่ดี

14.ผู้เขียนก็ได้ยกตัวอย่างของ NIH's Pathway to Independence (K99) Award - ซึ่งเป็นทุนที่ช่วยส่งเสริมให้โพสต์ด็อกสามารถนำแลบไปต่อยอดเองได่ในแลบใหม่

15.ผู้เขียนก็ยังได้ยกประเด็นอีกว่าจริง ๆ แล้วแหล่งให้ทุนควรจะจัดทำฐานข้อมูลที่บ่งบอกถึงความสามารถในการเป็นที่ปรึกษาที่ดี เช่น การเก็บเป็นบันทึกเลยว่าเคยเทรนใครบ้าง และทำเป็นฐานข้อมูลแสดงอยู่บนสาธารณะ (เห็นซีวีของนักวิจัย NIH บางท่านเขียนเลยว่าเคยเทรนใครมาบ้าง และไปประสบความสำเร็จที่แลบไปแลบไหนบ้าง) และควรจะนำไปเป็ส่วนหนึ่งของการพิจารณาการให้ทุนด้วย เนื่องจากใครก็ตามที่ไม่สามารถผลิตบุคลากรให้ประสบผลสำเร็จได้ในวิชาชีพ ยกเว้นแต่เสียตัวเอง ก็ไม่ดีต่อวงการการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์เท่าไหร่นัก เพราะไม่สามารถที่จะผลิตนักวิจัยที่สามารถนำความรู้ไปต่อยอดได้ในแลบใหม่ (คนแปลก็ประสบพบเจอมาเหมือนกันในประเด็นนี้ -- เอาเข้าจริง ๆ หลังมาก็มีข่าวออกมาอยู่บ่อย ๆ ของฝั่งประเทศยุโรปถึงแลบที่หัวหน้าโครงการ ประพฤติตัวไม่เหมาะสมที่ไม่ใช่ในเชิงวิชาการอย่างการปลอมแปลงข้อมูล แต่เป็นเรื่องทักษะทางสังคม ก็จะถูกพิจารณาถูกตัดทุนการทำวิจัย หรือแม้กระทั่งให้ออกจากงานก็มี)

16. จบท้ายด้วยคำนี้ it is incumbent upon us as a community to ensure that those to whom we hand the baton are treated equitably เป็นเรื่องที่สำคัญนะ ที่เรา (เหล่าที่ปรึกษา) เมื่อฝึกฝนลูกศิษย์จนวิทยายุทธแก่กล้าแล้วก็ควรรู้จักปล่อยวางในเรื่องอีโก้ เพื่อให้เกิดความเสมอภาคต่อการทำงานวิจัยของนักวิจัยรุ่นใหม่

ปล.อ่านไปอ่านมารู้สึกว่าไม่ได้แค่นำไปประยุกต์ใช้กับโพสต์ด็อกอย่างเดียว เอาเข้าจริงแล้ว นศ. ป.เอก ก็น่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ด้วย

บทความดี ๆ ที่แนะนำการเลือกที่ปรึกษาโครงการวิจัยที่ดี และการเป็นที่ปรึกษาโครงการวิจัยที่ดี ควรปฏิบัติดัวอย่างไร คลิ๊กได้จากสองบทความข้างล่าง

Comments

Popular posts from this blog

Useful links (updated: 2024-10-23)

Odd ratio - อัตราส่วนของความต่าง

Note: A Road to Real World Impact (new MU-President and Team) - update 12 Sep 2024