Microbiome and probiotic thing from special seminar

ไปฟัง special seminar เรื่อง "pathogen elimination by probiotic bacillus via signaling interference" ซึ่งเข้าใจว่าจัดโดยหลักสูตรเวชศาสตร์ปริวรรต คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี

Original work ของวิทยากร ดร.พิพัฒน์ ผิวงาม ได้ลงตีพิมพ์ใน Nature (click)

โน้ตไว้สำหรับตัวเอง

1. Staphylococcus aureus เป็นเชื้อแบคที่เรียที่เจอได้ทั่ว ๆ ไปในสิ่งแวดล้อม และเป็นเชื้อที่สามารถทำให้เกิดโรคติดเชื้อได้ เมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง

2.เข้าใจว่าสมมุติฐานครั้งแรกที่ทำไมถึงเก็บตัวอย่างจากป้ายน้ำจากโพรงจมูก กับอุจจาระ จากสี่ภาคของประเทศไทย แล้วดู microbiome ก็เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง microbiome กับความสามารถในการสร้างโคโลนีของ S. aureus (high-salt media plate ซึ่งเป็นเพลตที่เหมาะต่อการเลี้ยง S. aureus) แต่เอาเข้าจริงแล้วให้ผลไม่แตกต่างกัน 

3.แต่เมื่อสังเกตดูดี ๆ ในเพลตที่เลี้ยงเชื้อเพื่อสังเกตความสามารถในการสร้างโคโลนีของ S. aureus พบว่า ใเพลตที่มีเชื้อแปลก ๆ ขึ้นมา กลับกลายเป็นว่าความสามารถในการสร้างคโลนีของ S. aureus ลดลง หลังจากการวิเคราะห์ในภายหลังแล้วพบว่าเป็นเชื้อในกลุ่ม Bacillus sp.

4.เมื่อเจอความสัมพันธ์ดังกล่าวนั้น ทางทีมก็ได้ทดสอบข้อสังเกตดังกล่าวในหนูทดลอง โดยลองเอาสปอร์ของเชื้อ Bacillus sp. (ที่ได้มาจากการแยกในเพลต) ให้หนูกินเข้าไปพร้อม ๆ กับการให้หนูได้รับเชื้อ S. aureus แล้วดูความสามารถในการสร้างโคโลนีในทางเดินอาหาร

5.ผลปรากฎว่าเป็นไปตามที่คาด การเจริญของ S. aureus ลดลงในกลุ่มที่ให้หนูได้กินสปอร์ของ Bacillus sp เข้าไป หลังจากนั้นทางทีมก็หารายละเอียดเพิ่มเติมเข้าไปอีกว่าปัจจัยอะไรที่มาจากเชื้อ Bacillus sp. ส่งผลต่อการสร้างโคโลนีของ S. aureus

6.ซึ่งเขาก็เจอว่าเป็นเป็นเปปไทด์ขนาดเล็กตัวหนึ่งที่ Bacillus sp. สร้างขึ้นมาแล้วไปส่งผลยับยั้งการสร้างโคโลนีของ S. aureus ซึ่งทางทีมตั้งข้อสังเกตว่า มันมีลักษณะโครงสร้างคล้ายกันกับควอรัมเซนซิ่ง ซึ่งก็คือสารชีวโมเลกุลตัวหนึ่งของ S. aureus ที่ใช้ในการบ่งบอกเพื่อน ๆ รอบข้างให้มีความสามารถในการสร้าง toxin เพื่อเอื้อต่อการสร้างโคโลนี

7.ทางทีมได้ตั้งข้อสังเกตว่าสปอร์ของ Bacillus sp. น่าจะได้มาจากพืชผักที่มาจากการรับประทานของชุมชนในท้องถิ่นที่ทางทีมวิจัยได้เข้าไปเก็บตัวอย่าง (เข้าใจว่าไม่ได้ใช้ยาฆ่าแมลงด้วย ซึ่งจะทำให้มีความหลากหลายของจุลินทรีย์ในระดับหนึ่ง - แต่ทางทีมไม่ได้เจาะลึกว่าเป็นพืชผักชนิดไหนที่มีสปอร์ของตัว Bacillus sp. -- คิดในใจว่าจะเป็น bacterila endophyte  หรือเปล่า?)

8.สิ่งที่สามารถจะเอาไปประยุกต์ใช้ได้ในการศึกษาครั้งนี้คือ การนำเอาสปอร์ของ Bacillus sp.ไปเป็นส่วนประกอบของอาหารเสริม เพื่อป้องกันการสร้างโคโลนีของ S. aureus แต่อย่างไรก็ตาม มีคำถามตามมาสองสามคำถามในเชิงการนำเอาไปปฏิบัติ ซึ่งก็เข้าใจว่าต้องทำการศึกษาอีกระยะหนึ่งถึงผลประสิทธิภาพในการเอาไปเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น เราจะรู้ได้อย่างไรว่ากินเท่าไหร่ถึงจะป้องกันการเกิดโคโลนีของ S. aureus เพราะเอาเข้าจริงแล้วในทางเดินอาหารของคนเรามีเชื้อจุลินทรีย์อยู่เยอะแยะมากมาย และแต่ละสปีชีส์ของตัว Bacillus ก็มีความสามารถในการสร้างสปอร์แตกต่างกัน และก็ไม่รู้ด้วยว่าจะมีความแตกต่างกันในเชิงพันธุกรรมหรือเปล่าในแต่ละกระบวนการผลิต และจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการยับยั้งหรือเปล่า

9.ขอเพิ่มเติมในเชิงอุตสาหกรรมของอาหารเลี้ยงสัตว์ ซึ่งโดยปกติมีการให้โปรไบโอติคเพื่อเป็นการส่งเสริมโภชนาการแก่สัตว์เลี้ยงอยู่แล้ว และมีแนวโน้มว่าอาจจะมีการใช้ประโยชน์เพิ่มเติมจากการศึกษาถึงความสามารถในการผลิตสารเปปไทด์ขนาดเล็กในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคที่มีอยู่ในอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีในการฆ่าเชื้อ อันจะส่งผลให้เกิดเชื้อดื้อยาได้ภายในอนาคต และส่งผลกระทบทางด้านสุขภาพต่อผู้บริโภค

10.จากการที่ได้ทำงานรีวิวบทความต่าง ๆ มีคนยกประเด็นเรื่องความปลอดภัยในการใช้งานของโปรไบโอติกส์ ซึ่งเขาบอกว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถใช้ได้ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีปัญหาระบบเรื่องภูมิคุ้มกัน ก็อาจจะเป็นปัญหาได้ เอาเข้าจริงแล้ว สภาวะสุขภาพร่างกายที่แตกต่างกัน ก็มีผลต่อความหลากหลายของโมโครไบโอมได้เช่นเดียวกัน นึกสงสัยว่าจะมี precision probiotic อีกด้วยหรือเปล่าในอนาคต....



x

Comments

Popular posts from this blog

Useful links (updated: 2024-12-13)

Odd ratio - อัตราส่วนของความต่าง

Note: A Road to Real World Impact (new MU-President and Team) - update 12 Sep 2024